วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของดนตรีไทย

ประโยชน์ของดนตรีไทย 
  ประโยชน์ทั่วไป
          ประโยชน์ของดนตรีนับว่ามีอยู่ไม่น้อย กล่าวโดยย่อมีดังนี้คือ
         1. เสียงดนตรีเป็นสิ่งที่กล่อมหัวใจของคนให้อ่อนโยน เยือกเย็นดับทุกข์ได้ชั่วขณะ ปลุกใจให้รื่นเริงกล้าหาญ สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ฟังทั่วๆไป
         2. เป็นเครื่องที่ทำให้โลกครึกครื้น
         3. การแสดงมหรสพต่างๆ เป็นต้นว่า โขนละคร ดนตรีก็เป็นผู้ประกอบให้น่าดูสนุกสนานขึ้นสมอารมณ์ผู้ดูและผู้แสดง
         4. ทำความสมบูรณ์ให้แก่ฤกษ์และพิธีต่างๆ ทั้งของประชาชนและของชาติ
         5. เป็นเครื่องประกอบในการสงคราม ซึ่งเคยใช้ได้ผลมาแล้วหลายชาติ กล่าวโดยเฉพาะชาติไทยคราวสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาจักรีทรงรักษาเมืองพิษณุโลกต่อสู้ อะแซหวุ่นกี้ ก็ได้ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องประกอบอุบาย เป็นต้น
         6. ทำให้โลกเห็นว่าชาติไทยมีวัฒนธรรมเป็นอันดี ชาติใดที่มีวัฒนธรรมของตนอยู่อย่างดีย่อมเป็นที่ยกย่องของชาติทั้งหลาย
  ประโยชน์เฉพาะผู้บรรเลง
         กล่าวโดยย่อมีดังนี้คือ
          1. ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ทั่วไปดังกล่าวมาแล้ว
         2. เป็นอาชีพในทางที่ชอบอันหนึ่ง
         3. เป็นผู้รักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ
         4. จะเป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุมกว่าปกติ
         5. มีเครื่องกล่อมตนเองเมื่อยามทุกข์ ปลุกตนเองเมื่อยามเหงา
         6. เป็นเครื่องฝึกสมองอยู่ในตัว
         7. จะเป็นผู้มีเกียรติยศชื่อเสียงปรากฏแก่โลก
         8. ทำการสมาคมให้กว้างขวางได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ชั้นต่ำจนถึงชั้นสูงสุ
         นี่คือคุณประโยชน์ของดนตรี แต่การที่จะก่อให้เกิดประโยชน์นั้นๆขึ้นได้อย่างจริงจัง นักดนตรีจะต้องปฏิบัติตน ให้สมควรแก่ฐานะ อีกประการหนึ่งด้วย

เอกลักษณ์ดนตรีไทย

สะล้อ

ตัวอย่างเสียง
                      สะล้อ เป็นคำเดียวกันกับคำว่า ทรอ ซึ่งเอกสารโบราณบางฉบับเขียนว่า ตะล้อ , ถะล้อ , ธลอ เป็นเครื่อง          ดนตรีพื้นบ้านล้านนา ( ภาคเหนือ ) ใช้เล่นผสมกับซึงและขลุ่ย หรือ บรรเลงเดี่ยวก็ได้มีรูปทรงคล้ายซออู้ ซึ่งเป็น          เครื่องสายของดนตรีไทย แต่วิธีทำไม่ประณีตเท่าซออู้และในส่วนของรายละเอียดอาจแตกต่างกัน เป็นต้นว่า          กล่องเสียง ( กะโหลก / กระโหล้ง ) ซึ่งทำจากกะลามะพร้าว ขอบสะล้อด้านหน้าปิดด้วยแผ่นไม้บางๆ ส่วนของ          ซออู้นั้น ด้านหน้าปิดด้วยหนังและสายสะล้อใช้สายลวดหรือสายกีต้าร์ ส่วนซออู้นั้นเป็นสายเอ็น หรือสายไหม         สะล้อใช้คันชักสีนอกสายคล้ายซอสามสาย แต่ซออู้คันชักอยู่ในสาย คันชักเดิมที่ใช้หางม้าแต่ปัจจุบันหางม้าหา          ยากจึงใช้สายเอ็นเส้นเล็กๆ แทน เอาหางม้าหรือขี้ขะย้า(ขี้ขะย้ามีสองชนิดคือ ขี้ขะย้าจากมูลสัตว์ประเภทผึ้งชนิด
         หนึ่งและขี้ขะย้าจากยางไม้ประเภทยาง ซึ่งได้แก่ ยางนา , ยางป่าฯลฯ ) ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนยางสนนำมาถูไปมา          ที่หางม้าหรือสายเอ็น เพื่อให้เกิดความฝืดในการเสียดสีระหว่างหางม้ากับสายสะล้อ การเสียดสีทำให้เกิดเสียงขึ้นมา
                      สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของทางภาคเหนือ เป็นเครื่องสายใช้สีมีคันชัก เช่นเดียว กับซอด้วง          และซออู้ แต่ทำกันไม่สู้ประณีต คันทวนยาวรราว 65 เซนติเมตร มีสายขึงด้วยเส้นลวด 2 สาย ลูกบิดมี 2 อัน          เจาะรูเสียบทแยงไปในคันทวนสะล้อใช้เล่นประสม กับวงซึงและปี่ซอ ประกอบบทขับร้องและเพลงพื้นเมือง
                      มือซ้าย จับคันสะล้อ ใช้โคนหัวแม่มือและร่องนิ้วชี้คีบ ใต้สายรัดอกหรือรัดอกไว้เล็กน้อย
         ( ประมาณ 1 – 2 ซม . ) ให้พอดีกับตำแหน่งที่จะสามารถใช้นิ้วทั้ง 4 กดลงบนตำแหน่ง เสียงได้ถนัดและ
         บังคับคัน ซอไม่ให้โอนเอนหรือล้มได้มือขวา จับคันสะล้อ ให้มืออยู่ในลักษณะแบมือ สอดนิ้วก้อย         นิ้วนาง และนิ้วชี้ไว้ใต้คันชักและหางม้า หัวแม่มืออยู่บนคันชักคล้ายกับจับปากกา แล้วหงายมือบังคับ         ให้คัน ชักสะล้อวางและสีในแนวนอนขนานกับพื้น

กลองตะโพน

กลองตะโพน
            คือ ตะโพน แต่นำเอามาวางตีแบบกลองทัดใช้ไม้นวมตี ไม่ได้ใช้ฝ่ามือตีอย่างตะโพน กลองตะโพนนี้ได้ปรับปรุงใช้สำหรับวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งได้ปรับปรุงขึ้นมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์โดยเฉพาะ กลองชนิดนี้ใช้ตะโพน 2 ลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน แล้วนำมาตั้งเอาหน้าเท่งขึ้นตีแบบกลองทัด โดยให้หน้ากลองข้างหนึ่งตะแคงมาทางผู้ตี เหมือนกับกลองทัด นิยมนำมาใช้กับวงปี่พาทย์ไม้นวมแทนกลองทัด บรรเลงภายในอาคารบ้านเรือน เพื่อมิให้เสียงดังเกินไป

แคน

ประวัติความเป็นมาของแคน

 แคน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้ 
หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์ทำแคน 
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพรานคนหนึ่งได้ไปเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก (นกการเวก) ร้องไพเราะจับใจมาก เมื่อกลับมาจากป่าถึงบ้าน จึงได้เล่าเรื่องที่ตัวเองไปได้ยินเสียง นกกรวิกร้องด้วยเสียงไพเราะนั้นให้แก่ชาวบ้าน เพื่อนฝูงฟัง ในจำนวนผู้ที่มาฟังเรื่องดังกล่าวนี้มี หญิงหม้ายคนหนึ่งเกิดความกระหายใคร่อยากจะฟังเสียงร้องของนกกรวิกยิ่งนัก จึงได้พูดขอร้อง ให้นายพรานล่าเนื้ออนุญาตให้ตนติดตามไปในป่าด้วย เพื่อจะได้ฟังเสียงร้องของนก ตามที่นาย พรานได้เล่าให้ฟัง ในวันต่อมาครั้นเมื่อนายพรานล่าเนื้อได้พาหญิงหม้ายดั้นด้นไปถึงในป่า จนถึง ถิ่นที่นกกรวิก และนกเหล่านั้นก็กำลังส่งเสียงร้องตามปกติวิสัยของมัน นายพรานก็ได้กล่าวเตือน หญิงหม้ายให้เงี่ยหูฟังว่า 
"นกกรวิกกำลังร้องเพลงอยู่ สูเจ้าจงฟังเอาเถอะ เสียงมันออนซอนแท้ แม่นบ่" 
หญิงหม้ายผู้นั้น ได้ตั้งใจฟังด้วยความเพลิดเพลิน และติดอกติดใจในเสียงอันไพเราะ ของนกนั้นเป็นยิ่งนัก ถึงกับคลั่งไคล้ใหลหลง รำพึงอยู่ในใจตนเองว่า 
"เฮ็ดจั่งได๋นอ จั่งสิได้ฟังเสียงอันไพเราะ ม่วนชื่น จับใจอย่างนี้ตลอดไป ครั้นสิคอยเฝ้า ฟังเสียงนกในถิ่นของมัน ก็เป็นแดนดงแสนกันดาร อาหารก็หายาก หมากไม้ก็บ่มี" จึงได้คิดตัดสิน แน่วแน่ในใจตนเองว่า 
"เฮาสิต้องคิดทำเครื่องบังเกิดเสียง ให้มีเสียงเสนาะ ไพเราะออนซอนจับใจ ดุจดังเสียง นกกรวิกนี้ให้จงได้" 
เมื่อหญิงหม้ายกลับมาถึงบ้าน ก็ได้คิดอ่านทำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า หลาย ๆ อย่าง ก็ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใดมีเสียงไพเราะวิเวกหวานเหมือนเสียงนกกรวิก ในที่สุดนาง ได้ไปตัดไม้ไผ่น้อยชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง แล้วลองเป่าดู ก็รูสึก ค่อนข้างไพเราะ จึงได้พยายามดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งเกิดเป็นเสียงและ ท่วงทำนองอันไพเราะเหมือนเสียงนกกรวิก จนในที่สุดเมื่อได้แก้ไขครั้งสุดท้ายแล้วลองเป่าก็รู้สึก ไพเราะออนซอนดีแท้ จึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงทราบ 
ก่อนที่จะได้เข้าเฝ้า นางก็ได้เพียรพยายามปรับปรุงแก้ไขเสียงดนตรีของนางให้ดีขึ้นกว่า เดิม และยังได้ฝึกหัดเป่าเป็นท่วงทำนองต่าง ๆ จนมีความชำนาญเป็นอย่างดี 
ครั้นถึงกำหนดวันเข้าเฝ้า นางก็ได้เป่าดนตรีจากเครื่องมือที่นางได้คิดประดิษฐ์ขึ้นนี้ ถวาย เมื่อเพลงแรกจบลง นางจึงได้ทูลถามว่า 
"เป็นจั๋งได๋ ม่วนบ่ ข้าน้อย" 
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสตอบว่า "เออ พอฟังอยู่" 
นางจึงได้เป่าถวายซ้ำอีกหลายเพลง ตามท่วงทำนองเลียนเสียงนกกรวิกนั้น เมื่อจบถึง เพลงสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงตรัสว่า "เทื่อนี่ แคนแด่" (ครั้งนี้ ดีขึ้นหน่อย) 
หญิงหม้าย เจ้าของเครื่องดนตรี จึงทูลถามว่า "เครื่องดนตรีอันนี่ ควรสิเอิ้นว่าจั่งได๋ ข้าน้อย" (เครื่องดนตรีนี้ ควรจะเรียกว่าอย่างไร พระเจ้าข้า) 
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงตรัสว่า "สูจงเอิ้นดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำเว้าของเฮา อันท้ายนี้ สืบไปเมื่อหน้าเทอญ" (เจ้าจงเรียกดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำพูดของเราตอนท้ายนี้ ต่อไปภายหน้าเถิด) 
ด้วยเหตุนี้ เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่น้อยมาติดกันใช้ปากเป่า จึงได้ชื่อว่า "แคน" มาตราบเท่าทุกวันนี้ 
นี่เป็นเพียงนิทานปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน 
บางท่านก็สันนิษฐานว่า คำว่า "แคน" คงจะเรียกตามเสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกมาว่า "แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน" ซึ่งเป็นเสียงที่ดังออกมาจากการเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ บางคนก็มีความเห็นว่า คำว่า "แคน" คงเรียกตามไม้ที่ใช้ทำเต้าแคน กล่าวคือ ไม้ที่นำมาเจาะใช้ ทำเต้าแคนรวมเสียงจากไม้ไผ่น้อยหลาย ๆ ลำนั้น เขานิยมใช้ไม้ตะเคียน ซึ่งภาษาท้องถิ่นทางภาค อีสานเรียกว่า "ไม้แคน" แต่บางท่านก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกันออกไป 
แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าคิดอยู่บ้างคือ "แคน" นี้น่าจะทำขึ้นโดยผู้หญิง ซ้ำยังเป็น "หญิงหม้าย" เสียด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า ส่วนประกอบที่ใช้ทำแคนอันสำคัญคือส่วนที่ใช้ปากเป่า ยังเรียกว่า "เต้า แคน" และมีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย "เต้านม" ของสตรีอีกด้วย ทั้งการเป่าแคนก็ใช้วิธี เป่าและดูด จนสามารถทำให้เกิดเสียงอันไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อคือ คำที่ เป็นลักษณะนามเรียกชื่อและจำนวนของแคนก็ใช้คำว่า "เต้า" แทนคำว่า อัน หรือ ชิ้น ฯลฯ ดังนี้ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เสียงของแคนเป็นเสียงที่ไพเราะอ่อนหวาน ซาบซึ้งเหมือนเสียงนกการเวก ตาม นิทานเรื่องดังกล่าว เหมือนเสียงของหญิงหม้ายที่ว้าเหว่เดียวดาย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า "หญิงหม้าย" เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำแคนขึ้นเป็นคนแรก จึงเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังได้มากพอสมควรทีเดียว 
ลักษณะของแคนมีสองชนิด คือ แคนน้อย (ยาวศอก คืบ ยาวสองศอก ยาวสองศอกคืบ) และแคนใหญ่ (ยาวสามศอก ยาวสามศอกคืบ สี่ศอก สี่ศอกคืบ) ที่เคยใช้ในปัจจุบัน แต่ที่เคยมี ยาวถึงหกศอก แคนสองขนาดนี้แบ่งเป็นสองอย่าง คือ แคนเจ็ด และแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็คู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่ 
แคนเจ็ด
แคนเจ็ด แคนแปด
แคนแปด 
ส่วนแคนของเผ่าลาวลุ่มนั้นมีหกคู่ และแคนของเผ่าลาวสูงมีแค่สามคู่เท่านั้น และใช้ท่อต่อเต้าสำหรับการเป่าตามธรรมดา 
แคนลาว
แคนลาวสูง ลาวลุ่ม ลาวเทิง 
"แคน" ทำด้วยไม้อ้อ หรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยากเขาจึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อย และจะต้องหาให้ได้ลดขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ นอกจากไม้เหี้ยน้อยซึ่งทำเป็นลูกแคนยาวลดหลั่นกันตามลำดับ 7 คู่ หรือ 8 คู่ ประกอบเข้ากันกับเต้า ติดสูด (ขี้สูด) ข้างบนและข้างล่างเต้า เพื่อไม่ให้ลมเป่าเข้าสูบออกรั่ว แล้วยังมีลิ้นแคน รูแพว และรูนับเสียงเป็นสิ่งสำคัญด้วย ข้างในของแต่ละลำไม้ลูกแคนประกอบด้วยลิ้นแคนหนึ่งอันที่มีหนึ่งเสียง และจะต้องเจาะรูแพวให้ถูกตามเสียงเสมอ วิธีเป่าแคนลาวลุ่มก็เหมือนกับการเป่าแคนลาวเทิง หรือ ลาวสูง คือจะต้องใช้อุ้งมือทั้งสองข้าง อุ้มเต้าแคนไว้แล้วเป่าหรือดูดสูบลมที่รูเต้า ส่วนนิ้วมือก็นับไล่ตามเสียงไปด้วย 

ซออู้

ประวัติความเป็นมาของซออู้

ประวัติที่มาของซอด้วงและซออู้
จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏข้อความในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราไว้ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) ในกฎมณเฑียรบาลตอนที่ 15 และ 20 อันเป็นบทบัญญัติกำหนดโทษแก่ผู้ที่เล่นดนตรีเพลิดเพลินเกินขอบเขตเข้าไปถึงพระราชฐานขณะล่องเรือผ่านนั้น ปรากฏมีชื่อเครื่องดนตรีระบุไว้ ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ ซอ จะเข้ กระจับปี่ โทน ทับ
ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้บันทึกไว้ว่า “ขบวนเรือยาวที่แห่มารับตัวท่านและคณะว่ามีเสียงเห่ เสียงโห่และเสียงดนตรีประเภทกระจับปี่สีซอดังกึกก้องไพเราะไปทั่วคุ้งน้ำ...”
จะเห็นได้ว่า ในกฎมณเฑียรบาลและในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้มีการกล่าวถึง “ซอ” ไว้อย่างชัดเจน แต่เสียดายที่ไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าเป็นซออะไร

2. ประวัติที่มาของซออู้ ซออู้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มี 2 สาย มีเสียงทุ้มต่ำ ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว แต่ใช้กะลามะพร้าวพันธุ์ซอ ขนาดกะโหลกใหญ่เป็นพู มีการแกะสลักกะโหลกให้มีลวดลายวิจิตรบรรจงสวยงาม มะพร้าวพันธุ์ซอนี้ส่วนมากปลูกในอำเภอบางคนทีและอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ซออู้ของไทยมีรูปร่างคล้ายซอชนิดหนึ่งของจีน ที่มีชื่อว่า “ฮู-ฮู้” (Hu-hu) มี 2 สายเหมือนกันแต่ ฮู-ฮู้ มีนมรับสายก่อนจะถึงลูกบิด และลูกบิดอยู่ทางด้านขวามือของผู้เล่น ตรงลูกบิดที่จะสอดเข้าไปในทวนนั้นขุดทวนให้เป็นรางยาวและเอาสายผูกไว้กับก้านลูกบิดในร่องหรือรางนั้น และบางทีซออู้ของไทยอาจเอาแบบอย่างมาจากจีน แต่ในอีกแนวคิดหนึ่งซออู้นั้นอาจเป็นซอที่ประดิษฐ์ขึ้นก่อนซอของจีนและเป็นซอของไทยแท้ ๆ ที่ไม่ได้เลียนแบบมาจากประเทศอื่น เหตุผลเพราะว่าสมัยก่อนมีกลุ่มชนชาวไทยซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้อพยพลงมาและชนกลุ่มนี้มีความเจริญทางด้านศิลปะการดนตรี จึงได้คิดประดิษฐ์สร้างดนตรีขึ้นบรรเลง เพื่อความสนุกสนานและเพื่อผ่อนคลายความเครียด จากสาเหตุดังกล่าว จากที่เราเคยอาศัยอยู่ในประเทศจีนจึงเป็นเหตุให้เชื่อว่าเราอาจเลียนแบบมาจากจีน แต่แท้ที่จริงแล้วคนไทยในประเทศจีนเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเองไม่ได้ลอกเลียนแบบมาจากใคร
“ซออู้เป็นซอประเภทเครื่องสี มี 2 สายเช่นเดียวกับซอด้วง วิธีการบรรเลงโดยทั่วไปก็เป็นแบบเดียวกับซอด้วง คือ ท่านั่ง ท่าจับซอ ท่าจับคันชัก การใช้นิ้ว การไกวคันชัก คันชักออก คันชักเข้า คันชักสะบัด คันชักหนึ่ง สอง สี่ แปด ฯลฯ เป็นแบบเดียวกับซอด้วงทั้งสิ้น แต่ต้องนำมาเขียนแยกออกจากกันก็เพราะ ถึงวิธีการโดยทั่วไปจะละม้ายคล้ายคลึงกันก็ตาม แต่หลักการโดยเฉพาะของมันย่อมแตกต่างกันไม่ใช่น้อย ทั้งนี้เพราะซออู้เป็นซอเสียงทุ้ม มีหน้าที่บรรเลงขัด ล้อ ต่อ เหลื่อม ล่อ หลอก หน่วง ล้ำหน้า ฯลฯ คลุกเคล้าไปกับซอด้วง พูดง่าย ๆ ก็ว่าซอด้วงเป็นซอยืนหรือเป็นพระเอกประจำวง แต่ซออู้นี้เท่ากับเป็นตัวตลกคลุกคลีไปกับซอด้วงทำให้การบรรเลงสนุกสนานน่าฟัง” (ศจ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์, 2525 : 1)
แต่อย่างไรก็ตามเท่าที่มีหลักฐานพอจะทราบได้ว่า “ซออู้” เข้าร่วมประสมวงดนตรีในวงเครื่องสายและวงมโหรี เมื่อราวสมัยกรุงรัตนโกสินทร์และต่อมาในระยะหลังนี้ได้นำเข้าบรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และนิยมนำมาบรรเลงเดี่ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

ฟ้อนเล็บ

ฟ้อนเล็บเชียงรายPDFพิมพ์อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันอังคารที่ ๓๐ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ เวลา ๐๐:๐๐ น.
การฟ้อนเล็บเชียงราย
การฟ้อนเล็บของนางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ได้รับการถ่ายทอดมาจากนายโม ใจสม และได้ถ่ายทอดให้กับศิลปินฟ้อนพื้นบ้าน จังหวัดเชียงราย ในอดีตจนถึงปัจจุบัน จนกลายเป็นเอกลักษณ์การฟ้อนเล็บของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นฟ้อนที่ได้รับมาจากการฟ้อนของจังหวัดเชียงใหม่จากการฟ้อนในคุ้มของพระราชายาเจ้าดารารัศมี สู่ปวงชนชาวล้านนา อันแก่ได้ ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน  การฟ้อนเล็บของจังหวัดเชียงรายมีความแตกต่างจากจังหวัดเชียงใหม่ คือ การฟ้อนเล็บของจังหวัดเชียงรายนั้น ใช้วงปี่พาทย์พื้นเมืองประกอบการฟ้อน เพลงที่ใช้ได้แก่ เพลงแห่เมือง เพลงฤาษีหลงถ้ำ เพลงปราสาทไหว เป็นต้น ด้านท่วงท่าลีลาการฟ้อนมีความนิ่มนวล อ่อนช้อย และก้าวเท้าเพียง ๕ ก้าว ต่างจากการฟ้อนเล็บของจังหวัดเชียงใหม่ใช้วงกลองตึ่งนงประกอบการฟ้อนและก้าวเท้า ๗ ก้าว ปัจจุบันนางบัวเรียวยังคงถ่ายทอดการฟ้อนเล็บเชียงรายอย่างต่อเนื่องทั้งในสถาบันการศึกษา กลุ่มศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนา และกลุ่มเยาวชนต่างๆ  ซึ่งในระยะแรกนั้นยังไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควรแต่ด้วยความรักในศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาของนางบัวเรียว ได้ถ่ายทอดให้แก่สถาบันการศึกษาและกลุ่มเยาวชน ทั้งภาคกลุ่มวัฒนธรรม และศิลปินช่างฟ้อนตามอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันนางบัวเรียว จึงมีลูกศิษย์ทั้งวัยเด็ก วัยกลางคน และคนที่อายุสูงกว่า และก่อให้เกิดการประกวดแข่งขันการฟ้อนเล็บอย่างแพร่หลายในจังหวัดเชียงรายเพื่อให้เกิดการตื่นตัวในการอนุรักษ์มากขึ้น ปัจจุบันการฟ้อนเล็บตามแบบของนางบัวเรียวนี้ ได้รับการยอมรับให้เป็นฟ้อนเล็บเชียงราย ตามแบบของเอกลักษณ์ฟ้อนเล็บเชียงราย ดังนี้

ท่าฟ้อนเล็บเชียงรายมีดังนี้


ท่าที่ ๑ ท่าเทพพนม
จีบส่งหลังในท่าเสือลากหาง วาดมือทั้งสองขึ้นประนมไว้เหนือหน้าผาก ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างแยกออกจากกัน
จังหวะการก้าวเท้า ให้ก้าวเว้ายออกก่อน เอียงหัวและไหล่มาทางขวา วนก้าวมาด้านขวา ๕ ก้าว ชิดเท้า แล้วออกเท้าขวามาซ้าย ๕ ก้าว เอียงหัวและไหล่มาทางซ้าย ชิดเท้า (จังหวะการก้าวเท้าจะเป็นลักษณะจากซ้ายแล้วกลับมาขวา เป็นเช่นนี้ซ้ำๆ กัน ในทุกๆ ท่าฟ้อน)
ท่าที่ ๒ บิดบัวบาน
จีบมือขวาปล่อยมือซ้าย หลังมือชิดกันแล้วบิดมือเป็นรูปดอกบัวหมุนเป็นวงรอบมือ พร้อมเท้าซ้ายก้าวออกมาทางขวา ๕ ก้าว แล้วก้าวเท้าขวามาทางซ้าย ๕ ก้าว รวม ๑๐ ก้าว

ท่าที่ ๓ ท่าพรมสี่หน้า
จีบมือคู่ระดับเอว สอดมือขึ้นผ่านน้าอก ปล่อยมือแยกแขนตั้งศอกเสมอไหล่ ก้าวเท้ารวม ๑๐ ก้าว
พักแขนด้วยท่าเสือลากหาง (จีบส่งหลัง)

ท่าที่ ๔ ผาลาเพียงไหล่
หงายมือซ้ายขึ้นตั้งวงม้วนคว่ำมือ มือขวาจีบม้วนเข้าอกออกมาปล่อยจีบหงายมือลงต่ำข้างลำตัวด้านขวา แล้วเปลี่ยนข้างพร้อมกับก้าวเท้า ๕ ก้าว เปลี่ยนมือโดยเปลี่ยนมือซ้ายจีบม้วนเข้าอกวาดออกด้านซ้าย หงายมือปล่อยจีบมือลงต่ำข้างลำตัว

ท่าที่ ๕ นางระเวง
จีบมือซ้ายวาดเข้าอกวาดออกขึ้นตั้งวง พร้อมกับขวาวาดลงจีบข้างลำตัวส่งหลัง ครบ ๕ ก้าว เปลี่ยนแขนขวาตั้งวง แขนซ้ายจีบส่งหลัง


ท่าที่ ๖ พิสมัยเรียงหมอน
จีบมือซ้ายไว้ที่อก มือขวาวาดตั้งวง ปลายนิ้วมืออยู่ระดับคิ้ว ครบ ๕ ก้าว เปลี่ยนแขนตั้งวง มือขวาจีบหน้าอก มือซ้ายตั้งวง
พักแขนด้วยท่าเสือลากหาง (จีบส่งหลัง)

ท่าที่ ๗ เมฆลาล่อแก้ว
จีบมือขวาพร้อมกับวาดมือซ้ายเข้าหน้าอก กางแขนออกไป ขนานกับพื้น มือขวาตะแคงจีบ มือซ้ายปล่อยจีบ ปลายมือตั้งขึ้น ครบ ๕ ก้าวเปลี่ยนข้าง

ท่าที่ ๘ รามสูรขว้างขวาน
มือขวาจีบพร้อมกับวาดมือซ้ายเข้าหน้าอก เหยียดแขนซ้ายตึงขนานกับกับพื้น มือขวาหักข้อศอกตั้งขึ้น หงายมือขวาระดับหางคิ้ว ครบ ๕ ก้าว เลี่ยนข้าง

ท่าที่ ๙ สอดสร้อยมาลา
จีบมือซ้ายม้วนขึ้นตั้งวงไม่ปล่อยจีบ มือขวาวาดตามมาไว้ที่หน้าอกคว่ำมือไม่จีบ ครบ ๕ ก้าว เปลี่ยนแขนขวาจีบตั้งวงมือซ้ายวาดตามมาไว้ที่อกโดยไม่จีบแต่แบมือคว่ำลง
พักแขนด้วยท่าเสือลากหาง (จีบส่งหลัง)

ท่าที่ ๑๐ หงส์กางปีก
จีบมือทั้งสองข้างวาดเข้าที่อกก่อน แล้วค่อยดึงขึ้นเสมอหน้าผากแล้วแยกออกเหยียดแขนเสมอไหล่พร้อมจีบมือทั้งสองข้าง ๑๐ ก้าว ไม่เปลี่ยนมือ


ท่าที่ ๑๑ หงส์ร่อน
ม้วนจีบคว่ำลงแขนปล่อยจีบเสมอสะโพกกางแขนพอประมาณ ๑๐ ก้าวไม่เปลี่ยนมือ


ท่าที่ ๑๒ แบกขันตักบาตร
จีบม้วนซ้ายขึ้นตั้งศอกปล่อยจีบหงายมือขวาวาดตามมาไว้ที่อก ครบ ๕ ก้าว แล้วเปลี่ยนเป็นจีบม้วนขวาขึ้นตั้งศอกปล่อยจีบหงายมือซ้ายวาดตามมาไว้ที่หน้าอกคว่ำมือไม่จีบ
พักแขนด้วยท่าเสือลากหาง (จีบส่งหลัง)


ท่าที่ ๑๓ กินนรเลียบถ้ำ
จีบสองมือคว่ำวาดมือจากสะดือขึ้นหน้าอก เหยียดแขนออกไป ปล่อยจีบทั้งสองข้าง  ตั้งนิ้วมือขึ้นแขนขนานกับพื้น ปล่อยจีบ

ท่าที่ ๑๔ พญาครุฑบิน
จีบสองมือวาดขึ้นตั้งวงเสมอคิ้ว โดยหงายอุ้งมืออกทั้งสองข้าง 10 ก้าว ไม่เปลี่ยนมือ

ท่าที่ ๑๕ บุษบาแผลงฤทธิ์
จีบซ้ายม้วนวาดขึ้นตั้งวงพร้อมจีบเข้าหาใบหน้า มือขวาวาดลงจีบส่งหลังข้างตัว ๕ ก้าว เปลี่ยนมือจีบขวาม้วนวาดขึ้นตั้งวงพร้อมจีบเข้าหาใบหน้า มือซ้ายวาดลงจีบส่งหลังข้างตัว

ท่าที่ ๑๖ ชะเง้อ
จีบซ้ายวาดออกไปข้างหน้าเสมอหน้าท้องแล้วปล่อยจีบออกหงายอุ้งมือออกไปมือขวาวาดจีบส่งข้างตัว ๕ ก้าว เปลี่ยนมือจีบขวาออกไปข้างหน้าเสมอหน้าท้องปล่อยจีบออกหงายอุ้งมือออกไป มือซ้ายวาดจีบลงข้างลำตัว
เมื่อครบ ๑๐ ก้าวจีบส่งหลังด้วยท่าเสือลากหาง พร้อมก้าวเท้า ๓ ก้าวชิด แล้วก้าวเท้าซ้ายออก ๑ ก้าว พร้อมวาดมือจีบทั้งสองมือด้วยท่าบิดบัวบาน ๓ ครั้ง จีบซ้ายก่อนย่อตัวลงเอียงหัวตามจีบ แล้วจีบขวาเอียงขวา จีบซ้ายเอียงซ้าย รวม ๓ ครั้ง จบลงด้วยท่าย่อไหว้