ประวัติความเป็นมาของเพลงฉ่อย
เพลงฉ่อยเป็นเพลงพื้นบ้าน
บทกลอนที่ใช้ร้องเป็นแบบเดียวกับเพลงเรือวิธีเล่นจะรวดเร็วกว่าเพลงเรือ
นิยมแสดงในจังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง และสิงห์บุรี สารานุกรมไทย
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 9 ได้กล่าวถึง ฉะหน้าโรง (ฉ่อย) ไว้ดังนี้
“ฉะหน้าโรง (ฉ่อย) เป็นการร้องเพลงฉ่อยหรือเพลงทรงเครื่องในตอนเบิกโรง
การแสดงเพลงฉ่อย หรือเพลงทรงเครื่อง
โดยประเพณีแล้วจะต้องเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู
คือทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะออกมาร้องไหว้คุณพระรัตนตรัย
คุณครูบาอาจารย์ ตลอดจนคุณบิดร มารดาเสียก่อน
เมื่อจบแล้วปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเพลงสาธุการ
ครั้นเพลงสาธุการจบลงแล้วพ่อเพลง(หัวหน้าฝ่ายชาย)
ก็จะเริ่มร้องเป็นการประเดิมเบิกโรง บางคณะก็จะร้องว่า
พอจนส่งลงวา ปี่พาทย์รับสาธุการ
ฆ้องระนาดฉาดฉาน ชาวประชามามุง
กลองก็ตีปี่ก็ต๊อย พวกเพลงก็ทอยกันมุง..ไป
ในตอนนี้ซึ่งเรียกว่า “ฉะหน้าโรง”
การว่าเพลงกันในตอนนี้ผู้ชายจะร้องเชิญชวนจนฝ่ายหญิงออกมาร่วมร้องด้วย
แล้วก็เกี้ยวพาราสีและว่าเหน็บแนมกันเจ็บ ๆ แสบ ๆ
ถ้อยคำระหว่างชายหญิงที่ร้องว่ากันในตอนนี้
ในสมัยโบราณจะเต็มไปด้วยคำหยาบโลน อย่างดีก็เป็นสองแง่สองง่ามโดยตลอด
เรียกการร้องตอนนี้ว่า “ประ” เห็นจะย่อมาจาก “ประคารม”
การร้องเพลงฉะหน้าโรงนี้เป็นตอนที่ผู้ชมชอบฟังกันมาก
เพราะจะได้เห็นความสามารถของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงใช้ปฏิภาณปัญญาร้องแก้กันได้
อย่างถึงอกถึงใจ ถ้าผู้ร้องแก้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ไม่ตกก็เป็นที่อับอายกัน
ครั้นว่า “ประ” ในตอนฉะหน้าโรงนี้จนหมดกระบวนแล้ว
ในสมัยโบราณมักจะร้องส่งให้ปี่พาทย์รับเพลงหนัง เพลงที่ร้องนี้ คือ
เพลงพม่าห้าท่อน 2 ชั้น
เฉพาะท่อนต้นท่อนเดียวและยังทำให้เพลงได้ชื่อว่า “เพลงพม่าฉ่อย”
ไปด้วย เมื่อเพลงพม่าฉ่อยนี้จบแล้ว
ถ้าเป็นการเล่นเพลงฉ่อยก็จะร้องกันต่อไปตามแนวที่จะว่ากันอาจเป็นแนวการลัก
หาพาหนี หรือไต่ถามความรู้เป็นปัญหาธรรม หรือขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง
ๆแต่ไม่ว่าจะร้องด้วยเรื่องอะไร
ฝ่ายชายก็มักจะตอบวกเข้าเป็นเชิงสองแง่สองง่ามหยาบโลนอยู่เสมอ
แต่ถ้าเป็นการแสดงเพลงทรงเครื่อง พอจบเพลงพม่าฉ่อยแล้ว
ปี่พาทย์ก็จะบรรเลงวาหรือเพลงเสมอ
ตัวแสดงออกมาเริ่มแสดงเป็นเรื่องราวต่อไป
การแสดงเพลงทรงเครื่องนั้นแสดงเหมือนละครหรือลิเก
ผู้แสดงแต่งเครื่องปักดิ้นเลื่อนแพรวพราวอย่างเดียวกัน
แต่สมัยนั้นผู้แสดงต้องร้องเองและเพลงที่ร้องดำเนินเรื่องหรือพรรณนาใด ๆ
ต้องใช้ทำนองเพลงฉ่อยทั้งสิ้น
จะมีร้องส่งปี่พาทย์รับบ้างก็เพียงเล็กน้อย ส่วนเพลงหน้าพาทย์เชิด เสมอ
โอด ฯลฯ มิใช่เช่นเดียวกับละครลิเก อาจารย์สุทธิวงศ์
พงศ์ไพบูลย์ได้กล่าวถึง “เพลงฉ่อย” ในวรรณคดี
และวรรณกรรมปัจจุบันไว้ตอนหนึ่งว่า
การเล่นเพลงฉ่อย
จะมีการปรบมือให้จังหวะ เนื้อเพลงนั้นคล้ายกับ
เพลงพวงมาลัยและเพลงนี้ก็จะต้องจบลงด้วยสระไอทุกคำกลอนเช่นกัน
แต่เมื่อจะถึงบทเกี้ยว
ลักษณะเพลงจะคล้ายเพลงเรือลูกคู่นอกจากจะคอยปรบมือให้จังหวะแล้ว
ก็จะต้องรับตอนจบว่า
“ชา เอ๋ ฉา ชา หน่อย แม่ เอย”
สำหรับแม่เพลงก่อนจะขึ้นบทใหม่ทุกครั้งต้องขึ้นว่า
“โอง โงง โง โฮะ ละ โอ่ โง๋ง โง๋ย” ในบทหนึ่งจะว่ายาวสักเท่าไรก็ได้
เพลงฉ่อยเป็นเพลงพื้นบ้าน
บทกลอนที่ใช้ร้องเป็นแบบเดียวกับเพลงเรือวิธีเล่นจะรวดเร็วกว่าเพลงเรือ
นิยมแสดงในจังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง และสิงห์บุรี สารานุกรมไทย
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 9 ได้กล่าวถึง ฉะหน้าโรง (ฉ่อย) ไว้ดังนี้
“ฉะหน้าโรง (ฉ่อย) เป็นการร้องเพลงฉ่อยหรือเพลงทรงเครื่องในตอนเบิกโรง
การแสดงเพลงฉ่อย หรือเพลงทรงเครื่อง
โดยประเพณีแล้วจะต้องเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู
คือทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะออกมาร้องไหว้คุณพระรัตนตรัย
คุณครูบาอาจารย์ ตลอดจนคุณบิดร มารดาเสียก่อน
เมื่อจบแล้วปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเพลงสาธุการ
ครั้นเพลงสาธุการจบลงแล้วพ่อเพลง(หัวหน้าฝ่ายชาย)
ก็จะเริ่มร้องเป็นการประเดิมเบิกโรง บางคณะก็จะร้องว่า
พอจนส่งลงวา ปี่พาทย์รับสาธุการ
ฆ้องระนาดฉาดฉาน ชาวประชามามุง
กลองก็ตีปี่ก็ต๊อย พวกเพลงก็ทอยกันมุง..ไป
ในตอนนี้ซึ่งเรียกว่า “ฉะหน้าโรง”
การว่าเพลงกันในตอนนี้ผู้ชายจะร้องเชิญชวนจนฝ่ายหญิงออกมาร่วมร้องด้วย
แล้วก็เกี้ยวพาราสีและว่าเหน็บแนมกันเจ็บ ๆ แสบ ๆ
ถ้อยคำระหว่างชายหญิงที่ร้องว่ากันในตอนนี้
ในสมัยโบราณจะเต็มไปด้วยคำหยาบโลน อย่างดีก็เป็นสองแง่สองง่ามโดยตลอด
เรียกการร้องตอนนี้ว่า “ประ” เห็นจะย่อมาจาก “ประคารม”
การร้องเพลงฉะหน้าโรงนี้เป็นตอนที่ผู้ชมชอบฟังกันมาก
เพราะจะได้เห็นความสามารถของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงใช้ปฏิภาณปัญญาร้องแก้กันได้
อย่างถึงอกถึงใจ ถ้าผู้ร้องแก้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ไม่ตกก็เป็นที่อับอายกัน
ครั้นว่า “ประ” ในตอนฉะหน้าโรงนี้จนหมดกระบวนแล้ว
ในสมัยโบราณมักจะร้องส่งให้ปี่พาทย์รับเพลงหนัง เพลงที่ร้องนี้ คือ
เพลงพม่าห้าท่อน 2 ชั้น
เฉพาะท่อนต้นท่อนเดียวและยังทำให้เพลงได้ชื่อว่า “เพลงพม่าฉ่อย”
ไปด้วย เมื่อเพลงพม่าฉ่อยนี้จบแล้ว
ถ้าเป็นการเล่นเพลงฉ่อยก็จะร้องกันต่อไปตามแนวที่จะว่ากันอาจเป็นแนวการลัก
หาพาหนี หรือไต่ถามความรู้เป็นปัญหาธรรม หรือขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง
ๆแต่ไม่ว่าจะร้องด้วยเรื่องอะไร
ฝ่ายชายก็มักจะตอบวกเข้าเป็นเชิงสองแง่สองง่ามหยาบโลนอยู่เสมอ
แต่ถ้าเป็นการแสดงเพลงทรงเครื่อง พอจบเพลงพม่าฉ่อยแล้ว
ปี่พาทย์ก็จะบรรเลงวาหรือเพลงเสมอ
ตัวแสดงออกมาเริ่มแสดงเป็นเรื่องราวต่อไป
การแสดงเพลงทรงเครื่องนั้นแสดงเหมือนละครหรือลิเก
ผู้แสดงแต่งเครื่องปักดิ้นเลื่อนแพรวพราวอย่างเดียวกัน
แต่สมัยนั้นผู้แสดงต้องร้องเองและเพลงที่ร้องดำเนินเรื่องหรือพรรณนาใด ๆ
ต้องใช้ทำนองเพลงฉ่อยทั้งสิ้น
จะมีร้องส่งปี่พาทย์รับบ้างก็เพียงเล็กน้อย ส่วนเพลงหน้าพาทย์เชิด เสมอ
โอด ฯลฯ มิใช่เช่นเดียวกับละครลิเก อาจารย์สุทธิวงศ์
พงศ์ไพบูลย์ได้กล่าวถึง “เพลงฉ่อย” ในวรรณคดี
และวรรณกรรมปัจจุบันไว้ตอนหนึ่งว่า
การเล่นเพลงฉ่อย
จะมีการปรบมือให้จังหวะ เนื้อเพลงนั้นคล้ายกับ
เพลงพวงมาลัยและเพลงนี้ก็จะต้องจบลงด้วยสระไอทุกคำกลอนเช่นกัน
แต่เมื่อจะถึงบทเกี้ยว
ลักษณะเพลงจะคล้ายเพลงเรือลูกคู่นอกจากจะคอยปรบมือให้จังหวะแล้ว
ก็จะต้องรับตอนจบว่า
“ชา เอ๋ ฉา ชา หน่อย แม่ เอย”
สำหรับแม่เพลงก่อนจะขึ้นบทใหม่ทุกครั้งต้องขึ้นว่า
“โอง โงง โง โฮะ ละ โอ่ โง๋ง โง๋ย” ในบทหนึ่งจะว่ายาวสักเท่าไรก็ได้
วิธีเล่นเพลงฉ่อย
ผู้แสดง แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง มีพ่อเพลงและแม่เพลง
เริ่มด้วยการไหว้ครู ใช้กลอนเพลงอย่างโคราช
การร้องจะมีต้นเสียงและลูกคู่ร้องรับ ดนตรีใช้การตบมือเป็นจังหวะ
การ
เล่นเพลงฉ่อยนั้นได้แยกแยะวิธีการเล่นออกไปอีกหลายอย่างโดยคิดผูกเป็นเรื่อง
สมมติขึ้นเพี่อหาทางใช้วาทศิลป์ได้แปลก ๆ เช่น ชุดสู่ขอ ลักหาพาหนี
ตีหมากผัว และเชิงชู้เป็นต้น
ผู้แสดง แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง มีพ่อเพลงและแม่เพลง
เริ่มด้วยการไหว้ครู ใช้กลอนเพลงอย่างโคราช
การร้องจะมีต้นเสียงและลูกคู่ร้องรับ ดนตรีใช้การตบมือเป็นจังหวะ
การ
เล่นเพลงฉ่อยนั้นได้แยกแยะวิธีการเล่นออกไปอีกหลายอย่างโดยคิดผูกเป็นเรื่อง
สมมติขึ้นเพี่อหาทางใช้วาทศิลป์ได้แปลก ๆ เช่น ชุดสู่ขอ ลักหาพาหนี
ตีหมากผัว และเชิงชู้เป็นต้น
ชุดสู่ขอ จะต้องมี
พ่อเพลงและแม่เพลงหลายคน อย่างน้อยก็ฝ่ายละ 3 คือ พ่อแม่
ของทั้งสองฝ่ายและตัวหนุ่มสาว แสดงถึงการไปว่ากล่าวสู่ขอตามประเพณี
ซึ่งต่างก็จะใช้คารมโต้เถียงงอนกันไปเรื่อย
และมักสิ้นสุดลงด้วยความไม่สำเร็จ อันเป็นต้นเหตุให้เกิดการลักหาพาหนี
พ่อเพลงและแม่เพลงหลายคน อย่างน้อยก็ฝ่ายละ 3 คือ พ่อแม่
ของทั้งสองฝ่ายและตัวหนุ่มสาว แสดงถึงการไปว่ากล่าวสู่ขอตามประเพณี
ซึ่งต่างก็จะใช้คารมโต้เถียงงอนกันไปเรื่อย
และมักสิ้นสุดลงด้วยความไม่สำเร็จ อันเป็นต้นเหตุให้เกิดการลักหาพาหนี
ชุดลักหาพาหนี เป็น
การแสดงของชายหญิงเพียงฝ่ายละ 1
ใช้ศิลปะการร้องเพลงในการดำเนินเรื่องอย่างน่าฟัง เช่น
ตอนจะลอบออกจากบ้าน เข้าป่าชมดง
ซึ่งมีวิธีร้องเป็นทำนองเทศน์แหล่มหาพนบ้าง ทำนองพุทธโฆษา โล้สำเภาบ้าง
การแสดงของชายหญิงเพียงฝ่ายละ 1
ใช้ศิลปะการร้องเพลงในการดำเนินเรื่องอย่างน่าฟัง เช่น
ตอนจะลอบออกจากบ้าน เข้าป่าชมดง
ซึ่งมีวิธีร้องเป็นทำนองเทศน์แหล่มหาพนบ้าง ทำนองพุทธโฆษา โล้สำเภาบ้าง
ชุดตีหมากผัว
นั้นก็คือการแสดงหึงหวงระหว่างสองหญิง โดยมีพ่อเพลงคนหนึ่งแม่เพลงสองคน
สมมติว่าผู้หญิงเป็นคู่รักเก่าหรือภริยาเก่าไปพบชายคู่รักหรือสามีกำลัง
ประโลมหญิงอื่นก็เกิดการหึงหวงทะเลาะวิวาทกัน
นั้นก็คือการแสดงหึงหวงระหว่างสองหญิง โดยมีพ่อเพลงคนหนึ่งแม่เพลงสองคน
สมมติว่าผู้หญิงเป็นคู่รักเก่าหรือภริยาเก่าไปพบชายคู่รักหรือสามีกำลัง
ประโลมหญิงอื่นก็เกิดการหึงหวงทะเลาะวิวาทกัน
ชุดชิงชู้ มัก
เริ่มต้นด้วยชายหนึ่งไปพบหญิงผู้เป็นภรรยาผู้อื่นกล่าวเกี้ยวพาราสีแทะโลมจน
หญิงตกลงใจตามไป สามีเก่าตามไปพบเข้าก็เกิดการว่ากล่าวกันใหญ่โต
ซึ่งอาจจบเพียงนี้หรืออาจต่อไปถึงขั้นฟ้องร้องยังโรงศาล
โดยมีพ่อเพลงเป็นตัวตุลาการ อีกผู้หนึ่งมักเป็นนายอำเภอ ดังนั้น
จากการได้แนวความคิดจากท่านผู้รู้ได้บันทึกไว้รวมทั้งจากการสังเกตจากโดย
ทั่ว ๆไป เราอาจจะกล่าวได้ว่า “เพลงฉ่อย” เป็นการละเล่นพื้นเมือง
อย่างหนึ่งของชายหญิงอันแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านพื้นเมืองนั้น
ๆ ร้องโต้ตอบกัน แก้กันในความหมายต่าง ๆ ส่วนมากเป็นการประคารม
คำร้องเป็นลักษณะกลอนอย่างปรบไก่
แรกเริ่มฝ่ายชายเกริ่นขึ้นต้นด้วยเสียงเอื้อน
“โอง-โงง-โงย-ฉะโอง-โงง-โงย” แล้วชักชวนให้ผู้หญิงโต้ตอบกัน
เริ่มต้นด้วยชายหนึ่งไปพบหญิงผู้เป็นภรรยาผู้อื่นกล่าวเกี้ยวพาราสีแทะโลมจน
หญิงตกลงใจตามไป สามีเก่าตามไปพบเข้าก็เกิดการว่ากล่าวกันใหญ่โต
ซึ่งอาจจบเพียงนี้หรืออาจต่อไปถึงขั้นฟ้องร้องยังโรงศาล
โดยมีพ่อเพลงเป็นตัวตุลาการ อีกผู้หนึ่งมักเป็นนายอำเภอ ดังนั้น
จากการได้แนวความคิดจากท่านผู้รู้ได้บันทึกไว้รวมทั้งจากการสังเกตจากโดย
ทั่ว ๆไป เราอาจจะกล่าวได้ว่า “เพลงฉ่อย” เป็นการละเล่นพื้นเมือง
อย่างหนึ่งของชายหญิงอันแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านพื้นเมืองนั้น
ๆ ร้องโต้ตอบกัน แก้กันในความหมายต่าง ๆ ส่วนมากเป็นการประคารม
คำร้องเป็นลักษณะกลอนอย่างปรบไก่
แรกเริ่มฝ่ายชายเกริ่นขึ้นต้นด้วยเสียงเอื้อน
“โอง-โงง-โงย-ฉะโอง-โงง-โงย” แล้วชักชวนให้ผู้หญิงโต้ตอบกัน
การแต่งกาย ผู้หญิงนุ่งโจงกระเบนตามแต่ถนัด ใส่เสื้อรัดรูปมีสีสันสะดุดตา ทัดดอกไม้ ฝ่ายผู้ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมสีต่าง ๆ
โอกาสที่แสดง มักนิยมเล่นในงานเทศกาล หรืองานรื่นเริงของหมู่บ้าน ในวงการมหรสพต่าง ๆเช่น งานปีใหม่ ทอดกฐิน นำมาเป็นรายการแสดงก็มี
ตัวอย่างบทไหว้ครูชาย
ชา ฉ่า ชะชา เอิงเอยเอ่อเอิงเอ๊ย
มือของลูกสิบนิ้ว ยกขึ้นหว่างคิ้วถวาย
ต่างธูปเทียนทอง ทั้งเส้นผมบนหัว
ขอให้เป็นดอกบัว ก่ายกอง...เอย...ไหว้
อีกทั้งเส้นผมบนหัว (ซ้ำ) ขอให้เป็นดอกบัวก่ายกอง(ซ้ำ)เอยไหว้...เอ่ชา
ลูกจะไหว้พระพุทธที่ล้ำ ทั้งพระธรรมที่เลิศ
ทั้งพระสงฆ์องค์ประเสริฐ ขออย่าไปติดที่รู้
ถ้าแม้นลูกติดกลอนต้น ขอให้ครูช่วยด้นกระทู้ไป
ถ้าแม้นลูกติดกลอนตัน(ซ้ำ) ขอให้ครูช่วยด้นกระทู้(ซ้ำ) เอชา
มือของลูกสิบนิ้ว ยกขึ้นหว่างคิ้วถวาย
ต่างธูปเทียนทอง ทั้งเส้นผมบนหัว
ขอให้เป็นดอกบัว ก่ายกอง...เอย...ไหว้
อีกทั้งเส้นผมบนหัว (ซ้ำ) ขอให้เป็นดอกบัวก่ายกอง(ซ้ำ)เอยไหว้...เอ่ชา
ลูกจะไหว้พระพุทธที่ล้ำ ทั้งพระธรรมที่เลิศ
ทั้งพระสงฆ์องค์ประเสริฐ ขออย่าไปติดที่รู้
ถ้าแม้นลูกติดกลอนต้น ขอให้ครูช่วยด้นกระทู้ไป
ถ้าแม้นลูกติดกลอนตัน(ซ้ำ) ขอให้ครูช่วยด้นกระทู้(ซ้ำ) เอชา
รับเหมือนอย่างสองบทต้น ยกไหว้ครูเสร็จสรรพ หันมาคำนับกลอนว่า
ไหว้คุณบิดรมารดาท่านได้อุตส่าห์ถนอมกล่อมเกลี้ยงประโลมเลี้ยงลูกมา
ทั้งน้ำขุ่นท่านมิให้อาบ ขมิ้นหยาบมิให้ทา
ยกลูกบรรจงลงเปล ร้องโอละเห่-ละชา ไกว (รับ)
แม่อุตส่าห์นอนไกว จนหลังไหล่ถลอก
หน้าแม่ดำช้ำชอก มิได้ว่าลูกชั่ว
จะยกคุณแม่เจ้า วางไว้บนเกล้าของตัว...ไหว้ (รับ)
ไหว้คุณบิดรมารดาท่านได้อุตส่าห์ถนอมกล่อมเกลี้ยงประโลมเลี้ยงลูกมา
ทั้งน้ำขุ่นท่านมิให้อาบ ขมิ้นหยาบมิให้ทา
ยกลูกบรรจงลงเปล ร้องโอละเห่-ละชา ไกว (รับ)
แม่อุตส่าห์นอนไกว จนหลังไหล่ถลอก
หน้าแม่ดำช้ำชอก มิได้ว่าลูกชั่ว
จะยกคุณแม่เจ้า วางไว้บนเกล้าของตัว...ไหว้ (รับ)
ตัวอย่างบทสู่ขอ
เราเป็นเถ้าแก่ จะต้องไปแหย่ข้างแม่ยาย
เราจะเข้าตามตรอกออกทางประตู ให้พ่อแม่เอ็งรู้ทั้งผู้หลักผู้ใหญ่
พี่จะเตรียมทั้งขนมตั้งขนมกวย พี่ก็จัดแจงใส่ถ้วยออกไป
เตรียมขนมต้มไปเซ่นผี ให้น้องสักสี่ห้าใบ
พี่จัดทองหมั้นขันขันหมาก โตเท่าสากเจ๊กไท้
เราเป็นเถ้าแก่ จะต้องไปแหย่ข้างแม่ยาย
เราจะเข้าตามตรอกออกทางประตู ให้พ่อแม่เอ็งรู้ทั้งผู้หลักผู้ใหญ่
พี่จะเตรียมทั้งขนมตั้งขนมกวย พี่ก็จัดแจงใส่ถ้วยออกไป
เตรียมขนมต้มไปเซ่นผี ให้น้องสักสี่ห้าใบ
พี่จัดทองหมั้นขันขันหมาก โตเท่าสากเจ๊กไท้
ตัวอย่างบทลักหาพาหนี
พี่จะไปสู่ขอพี่ก็ท้อก็แท้ ทั้งพ่อทั้งแม่ของพี่ก็ตาย
รักกันให้ไปด้วยกัน ให้ไปกะฉันไม่เป็นไร
ที่เขารักกันหนาพากันหนี เขามั่งเขามีก็ถมไป
ถึงขึ้นหอลงโรง ถ้ากุศลไม่ส่งมันก็ฉิบหาย (เอชา)
พี่จะไปสู่ขอพี่ก็ท้อก็แท้ ทั้งพ่อทั้งแม่ของพี่ก็ตาย
รักกันให้ไปด้วยกัน ให้ไปกะฉันไม่เป็นไร
ที่เขารักกันหนาพากันหนี เขามั่งเขามีก็ถมไป
ถึงขึ้นหอลงโรง ถ้ากุศลไม่ส่งมันก็ฉิบหาย (เอชา)
ตัวอย่างชุดตีหมากผัว
แหมพิศโฉมประโลมพักตร์ แม่เมียน้อยน่ารักเสียนี่กระไร
เนื้อก็เหลืองไม่ต้องเปลืองขมิ้น สวยไปตั้งแต่ตีนตลอดไหล่
อะไร ๆ แม่คนนี้ดีไปทุกสิ่ง เสียแต่เป็นหญิงตูดไวตูดไว (เอชา)
เขาว่าเมียเขาไม่ดี อยู่เอก็เปล่ากาย
เมียเขามีจริง แล้วเขาก็ว่าทิ้งกันไป
กินแล้วก็นอนร้องละครไปวันยังค่ำ งานการน่ะทำไปเสียเมื่อไร
ดีแต่ประแป้งแต่งตัว เอาแม่ผัวไปนินทาซุกหัวกระได
ผัวเขาเลยขายส่งไปเสียที่โรงตรอก ไม่รู้เมียหลวงลอยดอกมาเมื่อไร(เอชา)
แหมพิศโฉมประโลมพักตร์ แม่เมียน้อยน่ารักเสียนี่กระไร
เนื้อก็เหลืองไม่ต้องเปลืองขมิ้น สวยไปตั้งแต่ตีนตลอดไหล่
อะไร ๆ แม่คนนี้ดีไปทุกสิ่ง เสียแต่เป็นหญิงตูดไวตูดไว (เอชา)
เขาว่าเมียเขาไม่ดี อยู่เอก็เปล่ากาย
เมียเขามีจริง แล้วเขาก็ว่าทิ้งกันไป
กินแล้วก็นอนร้องละครไปวันยังค่ำ งานการน่ะทำไปเสียเมื่อไร
ดีแต่ประแป้งแต่งตัว เอาแม่ผัวไปนินทาซุกหัวกระได
ผัวเขาเลยขายส่งไปเสียที่โรงตรอก ไม่รู้เมียหลวงลอยดอกมาเมื่อไร(เอชา)
แหล่งอ้างอิง:
/www.trueplookpanya.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น