วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

สะล้อ

ตัวอย่างเสียง
                      สะล้อ เป็นคำเดียวกันกับคำว่า ทรอ ซึ่งเอกสารโบราณบางฉบับเขียนว่า ตะล้อ , ถะล้อ , ธลอ เป็นเครื่อง          ดนตรีพื้นบ้านล้านนา ( ภาคเหนือ ) ใช้เล่นผสมกับซึงและขลุ่ย หรือ บรรเลงเดี่ยวก็ได้มีรูปทรงคล้ายซออู้ ซึ่งเป็น          เครื่องสายของดนตรีไทย แต่วิธีทำไม่ประณีตเท่าซออู้และในส่วนของรายละเอียดอาจแตกต่างกัน เป็นต้นว่า          กล่องเสียง ( กะโหลก / กระโหล้ง ) ซึ่งทำจากกะลามะพร้าว ขอบสะล้อด้านหน้าปิดด้วยแผ่นไม้บางๆ ส่วนของ          ซออู้นั้น ด้านหน้าปิดด้วยหนังและสายสะล้อใช้สายลวดหรือสายกีต้าร์ ส่วนซออู้นั้นเป็นสายเอ็น หรือสายไหม         สะล้อใช้คันชักสีนอกสายคล้ายซอสามสาย แต่ซออู้คันชักอยู่ในสาย คันชักเดิมที่ใช้หางม้าแต่ปัจจุบันหางม้าหา          ยากจึงใช้สายเอ็นเส้นเล็กๆ แทน เอาหางม้าหรือขี้ขะย้า(ขี้ขะย้ามีสองชนิดคือ ขี้ขะย้าจากมูลสัตว์ประเภทผึ้งชนิด
         หนึ่งและขี้ขะย้าจากยางไม้ประเภทยาง ซึ่งได้แก่ ยางนา , ยางป่าฯลฯ ) ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนยางสนนำมาถูไปมา          ที่หางม้าหรือสายเอ็น เพื่อให้เกิดความฝืดในการเสียดสีระหว่างหางม้ากับสายสะล้อ การเสียดสีทำให้เกิดเสียงขึ้นมา
                      สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของทางภาคเหนือ เป็นเครื่องสายใช้สีมีคันชัก เช่นเดียว กับซอด้วง          และซออู้ แต่ทำกันไม่สู้ประณีต คันทวนยาวรราว 65 เซนติเมตร มีสายขึงด้วยเส้นลวด 2 สาย ลูกบิดมี 2 อัน          เจาะรูเสียบทแยงไปในคันทวนสะล้อใช้เล่นประสม กับวงซึงและปี่ซอ ประกอบบทขับร้องและเพลงพื้นเมือง
                      มือซ้าย จับคันสะล้อ ใช้โคนหัวแม่มือและร่องนิ้วชี้คีบ ใต้สายรัดอกหรือรัดอกไว้เล็กน้อย
         ( ประมาณ 1 – 2 ซม . ) ให้พอดีกับตำแหน่งที่จะสามารถใช้นิ้วทั้ง 4 กดลงบนตำแหน่ง เสียงได้ถนัดและ
         บังคับคัน ซอไม่ให้โอนเอนหรือล้มได้มือขวา จับคันสะล้อ ให้มืออยู่ในลักษณะแบมือ สอดนิ้วก้อย         นิ้วนาง และนิ้วชี้ไว้ใต้คันชักและหางม้า หัวแม่มืออยู่บนคันชักคล้ายกับจับปากกา แล้วหงายมือบังคับ         ให้คัน ชักสะล้อวางและสีในแนวนอนขนานกับพื้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น