ประวัติหมอลำ
การ ลำ นับเป็นการแสดงพื้นเมืองของภาคอีสาน ที่มีการวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมมากทุกยุคทุกสมัย เริ่มจากการลำพื้นเมือง ซึ่งได้แก่การนำเนื้อหาของนิทานพื้นบ้าน เช่นการะเกด สินไช นางแตงอ่อน ลำโดยใช้หมอลำ 1 คน และหมอแคน 1 คน ผู้ลำสมมติคนเป็นตัวละครทุกตัว ในเรื่องและลำตลอดคืน การลำพื้นเป็นต้นกำเนิดของการลำทุกประเภท
ต่อมาลำพื้น ได้วิวัฒนาการมาเป็นการลำคู่ ซึ่งได้แก่ การลำ 2 คน ชายกับชาย หรือ ชายกับหญิง จนประมาณปี พ.ศ.2494 การ ลำระหว่างชายกับชายจึงเลิกไป เหลือระหว่างการลำชายกับหญิงมาจนถึงปัจจุบัน หมอลำคู่ที่มีชื่อเสียงรุ่นแรกๆ ได้แก่ หมอลำคูณ (ชาย) และหมอลำจอมศรี (หญิง) ชาวอุบลราชธานีนอกจากนี้ยังมีหมอลำทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทาชาย) หมอเคน ดาหลา (ชาย) เป็นต้น
การลำได้วิวัฒนาการต่อมาอีก จากการลำ 2 - 3 คน กลายมาเป็นการลำหลายๆคน เรียกว่า "หมอลำหมู่" ซึ่งมีประมาณ 10 กว่า คน เป็นการลำตามเรื่องราวอาจใช้นิทานพื้นบ้านหรือชาดกเป็นเนื้อเรื่อง ลีลาการลำมีหลายแบบ อาทิ ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น คณะหมอลำหมู่ชื่อเสียง ได้แก่รังสิมันต์ ซึ่งเป็นคณะหมอลำของชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเสียงมากระหว่างปี พ.ศ. 2506 - 2510
หมอลำ ศิลปะพื้นบ้านอีสานที่ไม่มีวันตาย
คำว่า "ลำ" มีความหมายสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องนกจอกน้อย เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่า ลำ กลอนที่เอามาจากหนังสือลำเรียกว่า กลอนลำ
อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา ขับ ร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า "หมอลำ"
วิวัฒนาการของหมอลำ
ความ เจริญก้าวหน้าของหมอลำก็คงเหมือนกับความเจริญก้าวหน้าของสิ่งอื่นๆ เริ่มแรก คงเกิดจากผู้เฒ่าผู้แก่เล่านิทาน นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม โดย เรียกลูกหลานให้มาชุมนุมกัน ทีแรกนั่งเล่า เมื่อลูกหลานมาฟังกันมากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่น เรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุก ผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น
เพียง แต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบ และหาเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดง มีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อ ผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่างๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิงเด่น ยาด (แย่ง) ชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน ขันท้า เรื่องตลกโปกฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ
จาก การมีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อยๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่อง ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครที่มีในเรื่อง มีพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวตลก เสนา ครบถ้วน ซึ่งพอจะแบ่งยุคของวิวัฒนาการได้ดังนี้
ลำโบราณ
เป็นการเล่านิทานของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ลูกหลานฟัง ไม่มีท่าทาง และดนตรี ประกอบ
เป็น การลำที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ แคน การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอน ลำทวย (ทาย โจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมี ปฏิภาณไหวพริบที่ดี สามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำ ขึ้นอีกหนึ่งคน อาจเป็นชายหรือหญิง ก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรัก หักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้
ลำหมู่
เป็นการลำที่มีผู้แสดงเพิ่มมากขึ้น จนเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครที่มีในเรื่อง มีเครื่องดนตรีประกอบเพิ่มขึ้น เช่น พิณ (ซุง หรือ ซึง) กลอง การลำจะมี 2 แนว ทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอน หมอลำแสดง เป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ได้อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ
ต่อ มาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของลำหมู่อีกครั้ง หนึ่ง กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง (หมอลำ) มาร้อง เพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟูมากที่สุด คณะหมอลำดังๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี
ลำซิ่ง
หลัง จากที่หมอลำคู่และหมอลำเพลิน ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงไป อันเนื่องมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์ ทำให้ดนตรีสตริงเข้ามาแทรกในวิถีชีวิตของผู้คนอีสาน ความนิยมของการชมหมอลำ ค่อนข้างจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดความวิตกกังวลกันมากในกลุ่มนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่แล้วมนต์ขลังของหมอลำก็ได้กลับมาอีกครั้ง ด้วยรูปแบบที่สะเทือนวงการด้วยการแสดงที่เรียกว่า ลำซิ่ง ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบาดไปสู่การแสดงพื้นบ้านอื่นให้ต้องประยุกต์ปรับตัว เช่น เพลงโคราชกลายมาเป็นเพลงโคราชซิ่ง กันตรึมก็กลายเป็นกันตรึมร็อค หนังปราโมทัย (หนังตะลุงอีสาน) กลายเป็นปราโมทัยซิ่ง ถึงกับมีการจัดประกวดแข่งขัน บันทึกเทปโทรทัศน์จำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย จนถึงกับ มีบางท่านถึงกับกล่าวว่า "หมอลำไม่มีวันตาย จากลมหายใจชาวอีสาน"
หมอลำอีสาน
นกน้อย อุไรพรชื่อจริง ชื่อ อุไร สีหวงศ์ เมื่ออายุครบ 11 ปี เด็กหญิงอุไร สีหะวง ก็จบการศึกษาภาคบังคับ ป.4 ด้วยคะแนนเป็นที่หนึ่งของชั้นคุณครูประจำชั้นมาหานายสมนางผันถึงบ้าน แล้วแนะนำว่า พ่อแม่น่าจะส่งอุไรให้ได้เรียนต่อในชั้นที่สูงถ้าเธอได้ไปเรียนในเมือง เธออาจจะมีโอกาสได้ดูการแสดงของนักร้องดังๆ ต่อไปอาจมีช่องทางเป็นนักร้องชื่อดังเหมือนเขาบ อุไร สีหะวง เด็กสาววัยกระเตาะจากบ้านจาน อำเภอยางชุมน้อย ที่จะต้องเป็นหนึ่งในจำนวนผู้เข้าประกวดแทบทุกเวที เพียงหน้างานปีเดียวเท่านั้น ชื่อเสียงของอุไรก็ขจรขจายไปทั้งตำบลและข้ามไปตำบลอื่นๆในเวลาต่อมาเธอกวาด รางวัลชนะเลิศมาทุกเวที ด้วยคะแนนที่เป็นเอกฉันท์ปราศจากข้อกังขา ผู้คนเล่าขานถึงเด็กหญิงเสียงวิหคดั่งนกน้อยผู้นี้ และมองว่าถ้าได้รับการสนับสนุนอย่างดีแล้วไซร้ เธอจักต้องเป็นนักร้องผู้ยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้า จนในที่สุดในเขตอำเภอยางชุม น้อย จ.ศรีสะเกษ ก็ไม่มีนักร้องคนไหนกล้าประลองฝีปากกับเธอบนเวที ชัยชนะเริ่มอิ่มตัว ความภาคภูมิใจของเด็กน้อยเริ่มเสื่อมคลาย เธอจะต้องก้าวไปสู่เวทีที่ยิ่งใหญ่ ต้นปีพุทธศักราช 2518วงดนตรี “เสียงอิสาน” นกน้อย อุไรพร ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในวงการ อาวทิดหลอดทุ่มเททั้งแรงเงิน แรงกาย เพื่อผลักดันวงดนตรีของตัวเองให้ได้รับการยอมรับจากประชาชน ที่เรียกว่าวงดนตรีของตัวเองนั้น ก็เพราะว่าขณะนั้นเป็นที่ทราบกันทั่วไปในวงการว่าอาวทิดหลอดกับนกน้อย อุไรพร ได้อยู่กินเป็นสามีภรรยาถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่สิ่งที่อาวทิดหลอดคาดการณ์ไว้กลับไม่เป็นเช่นนั้น วงเสียงอิสานไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนเลย งานจ้างก็มีกระท่อนกระแท่น จนต้องยกวงเดินสายและพากันกลับมาอย่างบอบช้ำ ขาดทุนยับเยิน สมาชิกภายในวงก็เริ่มหนีหาย จนเหลืออยู่ไม่กี่สิบคน เมื่อมานั่งวิเคราะห์สถานการณ์อย่างถ้วนถี่แล้ว เขาจึงค้นพบจุดอ่อนของวง นั่นคือ วงเสียงอิสานเป็นวงดนตรีลูกทุ่งเพียวๆ แสดงจากสามทุ่มตีหนึ่งก็เลิกต่างจากวงหมอลำที่เล่นกันยันสว่าง และมีลำเรื่องต่อกลอนให้ผู้ชมๆ ได้ทั้งคืน จึงไม่แปลกที่หมอลำใหญ่ๆ อย่างคณะประถมบันเทิงศิลป์ จะมีงานแสดงอย่างล้นเหลือ ในขณะที่เสียงอิสานจับเจ่าเฝ้าสำนักงาน อีกหนึ่งจุดอ่อนที่ค้นพบก็คือ ขนาดของวงเสียงอิสานเล็กเกินไป มีสมาชิกในวงแค่ 40 กว่าชีวิต วงเล็กๆ แบบนี้เจ้าภาพไม่ชอบ เขาชอบจ้างคณะใหญ่ที่มีนักแสดงเป็นร้อย มีรถหลายคัน มีเวทีแสงสีเสียงใหญ่โตมโหฬาร ส่วนผลงานด้านหน้าเวทีไม่ได้เรื่องจนหมาหลับก็ช่างมัน เมื่อคิดได้ดังนี้แผนการฟื้นฟูกิจการวงเสียงอิสานครั้งใหญ่จึงถูกตระเตรียม ในหัวสมองของอาวทิดหลอด เขาประกาศพักวงชั่วคราวเพื่อปรับปรุงใหม่ อันดับแรกสุดคือเรียกหาหัวหน้าวง “นกน้อย อุไรพร” เข้ามาพบเพื่อรับบัญชา “”เจ้าไปหัดร้องหมอลำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เฮาสิเอ็ดวงใหม่เป็นลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ถ้าไม่เช่นนั้นเฮาสู้คณะอื่นบ่ได้”” การตัดสินใจของอาวทิดหลอดถูกต้องที่สุด เพราะหลังจากยกเครื่องปรับปรุงทีมงานการแสดงได้ไม่นานนักวงดนตรีลูกทุ่ง หมอลำคณะเสียงอิสานก็ได้รับการกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวาง นกน้อย อุไรพรอาศัย ไหวพริบปฏิภาณเรียนรู้การร้องหมอลำจนชำนิชำนาญ เมื่อร้องจนเก่งแล้วจึงลองหัดแต่งกลอนลำร้องเอง ต่อมาก็แต่งให้นักแสดงในวงนำไปร้อง จนในที่สุดถึงปัจจุบันนี้การแต่งนิทานและกลอนลำที่ใช้ในการลำเรื่องต่อกลอน ของคณะเสียงอิสาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฮอยปานดำ, ฮอยปูนแดง, วงเวียนชีวิต, เงากรรม ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ เป็นฝีมือของนกน้อย อุไรพร ทั้งสิ้น 10ปีต่อมา ชื่อเสียงของคณะเสียงอิสานเริ่มขยายวงกว้างเป็นไฟลามทุ่ง ด้วยทีมงานที่ยิ่งใหญ่ขบวนคอนวอยที่ยาวเหยียด เวทีแสงสีเสียงและการแสดงอันตื่นตาตื่นใจ
ประวัติความเป็นมาของหมอลำคณะประถมบันเทิงศิลป์
ก่อตั้งโดย คุณแม่บุญถม นามวันทา เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2500 ใช้ชื่อวงในตอนแรกว่า บุญถมบันเทิงศิลป์คุณแม่บุญถมได้ แต่งงานกับคุณพ่อประพันธ์ สิมเสน จึงเป็นที่มาของชื่อคณะ ประถมบันเทิงศิลป์ โดยนายกสมาคมหมอลำในสมัยนั้นชื่อ นายคำดี สาระผล ว่าชื่อบุญถมไม่เพราะ จึงเปลี่ยนให้โดยให้ยึดเอาชื่อคุณพ่อประพันธ์ และ คุณแม่บุญถมเป็นหลัก จึงเป็นชื่อประถมบันเทิงศิลป์มาจนถึงปัจจุบัน
ผลงานที่สร้าง ชื่อให้กับวงประถมบันเทิงศิลป์ในสมัยนั้นมีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น จำปาสี่ต้น ท้าวแบ้ ซึ่งออกอากาศทางวิทยุระบบเอเอ็ม ลีลาวดี กามนิตวาสิฐี หญิงสามผัว เจ้าหัวสามโบสถ์ มหากฐิน และกำไลมาศและผลงานที่สร้างชื่อให้กับประถมบันเทิงศิลป์คือ เรื่อง ลีลาวดี
พ.ศ.2533 คุณแม่บุญถมได้เสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก และก็ทำให้ ดาบส.หรือนายสันติ สิมเสน ลูกชายของคุณแม่บุญถมจึงได้นำวงเริ่มออกงานแทนคุณแม่บุญถม ในขณะที่ศพคุณแม่บุญถมยังอยู่ที่บ้าน และได้ประคับประคองวงประถมไปแสดงจนสิ้นสุดฤดูกาลแสดงของปีนั้น
ก่อนที่ดาบส.จะ ทำหน้าที่หัวหน้าวงแทนคุณแม่บุญถม ดาบส.ก็ได้ช่วยงานในวงมามากพอสมควร เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี เรียนลำ และเคยแสดงหมอลำโดยรับบทเป็นตัวโกงมาก่อนทำให้ดาบส.เป็นที่ยอมรับของสมาชิก ในคณะทุกคน และเมื่อพ.ศ.2530 ดาบส.ได้แต่งงานกับ นางสาววนิดา สุนทรวิศิษฐ์กุล หรือ แม่อิ๋ว และได้ช่วยกันพัฒนาวงประถมบันเทิงศิลป์มาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันวงประถม บันเทิงศิลป์ โดยการนำของ ดาบส.สันติ บุญถมได้มีการพัฒนาจากเดิมมาก ไม่ว่าจะเป็น ระบบ แสง สี เสียง และการนำเสนอรูปแบบการแสดงใหม่ๆ บวกกับเทคนิคต่างๆ ทำให้วงประถมบันเทิงศิลป์เป็นที่ยอมรับของแฟนๆมาตลอด
ก่อตั้งโดย คุณแม่บุญถม นามวันทา เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2500 ใช้ชื่อวงในตอนแรกว่า บุญถมบันเทิงศิลป์คุณแม่บุญถมได้แต่งงานกับคุณพ่อประพันธ์ สิมเสน จึงเป็นที่มาของชื่อคณะ ประถมบันเทิงศิลป์ โดยนายกสมาคมหมอลำในสมัยนั้นชื่อ นายคำดี สาระผล ว่าชื่อบุญถมไม่เพราะ จึงเปลี่ยนให้โดยให้ยึดเอาชื่อคุณพ่อประพันธ์ และ คุณแม่บุญถมเป็นหลัก จึงเป็นชื่อประถมบันเทิงศิลป์มาจนถึงปัจจุบัน
ผลงานที่สร้างชื่อให้กับวงประถมบันเทิงศิลป์ในสมัยนั้นมีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น จำปาสี่ต้น ท้าวแบ้ ซึ่งออกอากาศทางวิทยุระบบเอเอ็ม ลีลาวดี กามนิตวาสิฐี หญิงสามผัว เจ้าหัวสามโบสถ์ มหากฐิน และกำไลมาศและผลงานที่สร้างชื่อให้กับประถมบันเทิงศิลป์คือ เรื่อง ลีลาวดี
พ.ศ.2533 คุณแม่บุญถมได้เสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก และก็ทำให้ ดาบส.หรือนายสันติ สิมเสน ลูกชายของคุณแม่บุญถมจึงได้นำวงเริ่มออกงานแทนคุณแม่บุญถม ในขณะที่ศพคุณแม่บุญถมยังอยู่ที่บ้าน และได้ประคับประคองวงประถมไปแสดงจนสิ้นสุดฤดูกาลแสดงของปีนั้น
ก่อนที่ดาบส.จะทำหน้าที่หัวหน้าวงแทนคุณแม่บุญถม ดาบส.ก็ได้ช่วยงานในวงมามากพอสมควร เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี เรียนลำ และเคยแสดงหมอลำโดยรับบทเป็นตัวโกงมาก่อนทำให้ดาบส.เป็นที่ยอมรับของสมาชิก ในคณะทุกคน และเมื่อพ.ศ.2530 ดาบส.ได้แต่งงานกับ นางสาววนิดา สุนทรวิศิษฐ์กุล หรือ แม่อิ๋ว และได้ช่วยกันพัฒนาวงประถมบันเทิงศิลป์มาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันวงประถมบันเทิงศิลป์ โดยการนำของ ดาบส.สันติ บุญถมได้มีการพัฒนาจากเดิมมาก ไม่ว่าจะเป็น ระบบ แสง สี เสียง และการนำเสนอรูปแบบการแสดงใหม่ๆ บวกกับเทคนิคต่างๆ ทำให้วงประถมบันเทิงศิลป์เป็นที่ยอมรับของแฟนๆมาตลอด
ผลงานที่สร้างชื่อให้กับวงประถมบันเทิงศิลป์ในสมัยนั้นมีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น จำปาสี่ต้น ท้าวแบ้ ซึ่งออกอากาศทางวิทยุระบบเอเอ็ม ลีลาวดี กามนิตวาสิฐี หญิงสามผัว เจ้าหัวสามโบสถ์ มหากฐิน และกำไลมาศและผลงานที่สร้างชื่อให้กับประถมบันเทิงศิลป์คือ เรื่อง ลีลาวดี
พ.ศ.2533 คุณแม่บุญถมได้เสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก และก็ทำให้ ดาบส.หรือนายสันติ สิมเสน ลูกชายของคุณแม่บุญถมจึงได้นำวงเริ่มออกงานแทนคุณแม่บุญถม ในขณะที่ศพคุณแม่บุญถมยังอยู่ที่บ้าน และได้ประคับประคองวงประถมไปแสดงจนสิ้นสุดฤดูกาลแสดงของปีนั้น
ก่อนที่ดาบส.จะทำหน้าที่หัวหน้าวงแทนคุณแม่บุญถม ดาบส.ก็ได้ช่วยงานในวงมามากพอสมควร เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี เรียนลำ และเคยแสดงหมอลำโดยรับบทเป็นตัวโกงมาก่อนทำให้ดาบส.เป็นที่ยอมรับของสมาชิก ในคณะทุกคน และเมื่อพ.ศ.2530 ดาบส.ได้แต่งงานกับ นางสาววนิดา สุนทรวิศิษฐ์กุล หรือ แม่อิ๋ว และได้ช่วยกันพัฒนาวงประถมบันเทิงศิลป์มาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันวงประถมบันเทิงศิลป์ โดยการนำของ ดาบส.สันติ บุญถมได้มีการพัฒนาจากเดิมมาก ไม่ว่าจะเป็น ระบบ แสง สี เสียง และการนำเสนอรูปแบบการแสดงใหม่ๆ บวกกับเทคนิคต่างๆ ทำให้วงประถมบันเทิงศิลป์เป็นที่ยอมรับของแฟนๆมาตลอด
ประวัติคณะหมอลำรัตนศิลป์ อินตาไทยราษฎร์
จังหวัด ขอนแก่น เป็นคณะหมอลำที่สร้างขื่อเสียงได้รับการยอมรับทั่วภูมิภาคอีสาน โดยมีหมอลำบุญถือ หาญสุริย์ และหมอลำชวาลา หาญสุริย์ สองสามีภรรยาได้ก่อตั้งคณะหมอลำ โดยเริ่มต้นจากการสืบทอดเจตนารมณ์ วงหมอลำ จากพ่อครูอินตา บุดทา เดิมชื่อคณะ เสียงทองบันเทิงศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ต่อมาเมื่อพ่อครูอินตา บุดทา ได้เสียชีวิตลง ได้จัดตั้งคระใหม่ขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. 2504 โดยให้ ชื่อว่า คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ จนถึงปัจจุบัน มีอายุถึง 47 ปี คณะ รัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ เป็นวงหมอลำที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งโดยเฉพาะการแสดงลำเรื่องต่อกลอน ตั้งแต่สมัยหมอลำ บุญถือ และ หมอลำ ชวาลา หาญสุรีย์ เป็นพระเอกนางเอก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากหมอลำที่แสดง แสดงได้สมบทบาท มีกระแสเสียงที่ไพเราะนุ่ม นวลทั้ง พระเอก นางเอก และตัวแสดงประกอบ โดยได้รับการฝึกฝน ถ่ายทอดจากครูหมอลำเป็น รุ่นๆ เป็นคณะหมอลำที่สืบทอด ลำเรื่องต่อกลอนลำพื้น ทำนองขอนแก่นที่ดี คณะหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีการสืบสานทำนองกลอนลำที่เป็นเอกลักษณ์แบบดั้งเดิมจากพ่อครู ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ มีจรรยาบรรณ ในการแสดงของศิลปินหมอลำอย่างเต็มที่ และถ่ายทอดการแสดงให้แก่เยาว์ชนคนรุ่นใหม่อย่างต่อ เนื่องและยาวนาน แม้จะมีกระแสวัฒนธรรมตะวตกหลั่งไหลทะลักเข้ามา ในประเทศ แต่คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ก็สามารถที่ผสมผสานการแสดงสมัยใหม่กับพื้นบ้านกลมกลืน จนปรากฏเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนอย่างกว้างขวาง ผลงานดังกล่าว เป็นผลให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการประกวดหมอลำหมู่ และประกวดดนตรีพื้นบ้าน จากสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2536และได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติสุดยอดศิลปินอีสาน 40 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี2547
จาก ภารกิจการสืบทอดศิลปะการแสดงหมอลำ ของคณะหมอลำ รัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ทำให้คณะหมอลำรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ได้ รับความนิยมครองใจมหาชนมาโดยตลอด สามารถนำการศิลปะการแสดงนั้นให้ขึ้นมาทัดเทียมกับศิลปะการแสดงของสากล อย่างน่าภูมิใจ จากเกียรติคุณในการสร้างสรรค์ผลงานสืบทอดศิลปะการแสดงนั้นอย่างต่อเนื่อง และยืนยาว ก่อประโยชน์ต่อสังคมอย่างกว่างขวางทั้งทางศิลปะวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เป็นที่ประจักษ์ทั่วไป คณะหมอลำรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ จึงสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินพื้นบ้านอีสาน สาขาศิลปะ การแสดง (สืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน) ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม, อีสานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อขวัญและกำลังใจในการสร้างผลงานทีมีประโยชน์ต่อท้องถิ่นอีสานและประเทศ ชาติสืบไป
บานเย็น รากแก่น
ยอด หมอลำที่มีเสียงไพเราะเพราะพริ้ง เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ด้วยลีลาและท่วงท่า การฟ้อนรำอันอ่อนช้อยสวยงาม ยังคงประทับใจไทยอีสานอยู่มิรู้ลืม ศิลปินเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวอุบลราชธานีอีกคนหนึ่ง การกลับมาบันทึกเสียงลำ ชุด "แม่ไม้หมอลำ" ของเธอนับว่าได้ กระตุ้นเตือนให้วงการหมอลำของฅนอีสานคึกคักอีกครั้งหนึ่ง ด้วยสำเนียงเสียงสดใสคงเดิม และลีลาร่ายรำอันสวยงามที่หาตัวจับยากของเธอ ประทับใจครับ นอกจากนั้นยังอุทิศตน อุทิศเวลาเดินทางมาให้ความรู้กับลูกศิษย์ลูกหาด้านศิลปะการแสดง ณ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยอีกด้วย นับว่า เป็นยอดศิลปินที่ไม่เคยลืมบ้านเกิดตัวเองจริงๆ
งิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว ลำงิ้วต่องต้อน เป็นท่วงทำนองการลำอีกแบบหนึ่งที่มีความไพเราะยิ่ง น่าฟังมากครับ
ตั้งตาคอย ลำซิ่ง สไตล์สนุกสนาน ฟังแล้วครึ้มหัวใจ รับรองได้ว่าแข้งขาของคุณ ต้องขยับ ตามจังหวะอย่างแน่นอน
หัวใจเตื้องต่อ กลอนลำเสียงออดอ้อนชุดใหม่ 1999 สาวหมอลำระเบิดโลก
บานเย็น รากแก่น กับหน้าที่ "แม่พิมพ์ของชาติ"
ใน พ.ศ.นี้ หากจะหา "หมอร้อง – หมอลำ" แล้วล่ะก็ หากันไม่ยาก แต่ถ้าจะหาแบบที่เป็นหมอลำโดยแท้ คงจะยากสักหน่อย เพราะส่วนมากจะเป็น "หมอลำ" ลักษณะลูกผสมเสียส่วนใหญ่ แต่ถ้าจะถามหาผู้ที่ยังคงอนุรักษ์ความเป็นหมอลำกันจริงๆ ก็คงหนีไม่พ้นสาวใหญ่ ที่ได้สมญานามว่า "ราชินีหมอลำ บานเย็น รากแก่น"
เพราะเธออยู่คู่กับ "หมอลำ" มานานหลายสิบปี ด้วยประสบการณ์ อันยาวนานทั้งด้าน "หมอลำ" และ " ลูกทุ่ง ..อีสาน" ที่สะสมมาตั้งแต่เยาว์วัย โดยเธอเคยเป็นถึง "นางเอก" หมอลำต่อกลอนให้กับคณะ "รังสิมันต์" ที่เคยเฟื่องฟูยุคหนึ่ง จากนั้นก็มาโด่งดังเอาดีทางการร้องเพลง "ลูกทุ่งอีสาน" อยู่พักใหญ่ และไม่ใช่จะเอาดีแต่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น เธอยังโด่งดังไปไกลข้ามทวีป รวมถึงการออกทัวร์คอนเสิร์ตข้ามทวีปเป็นว่าเล่น และนับเป็นศิลปินหมอลำอันดับหนึ่ง ที่มีงานแสดงในต่างประเทศมากที่สุดคนหนึ่ง
ถ้าจะถามถึงแนวการร้องเพลงลำของเธอแล้ว เธอมีทั้งแนว "ลำเรื่องต่อกลอน" "ลำเพลิน" "ลำมโนราห์" หรือแม้แต่เพลง "ลำเพลิน-แคนอีสาน" "ลำเพลินเจริญจิต" และ "ลำงิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว" ที่อยู่ในชุด "สาวหมอลำระเบิดโลก" ล้วนเป็นผลงานการร้องเพลงลำของเธอทั้งสิ้น 30 กว่าปีกับการคว่ำหวอดในวงการหมอลำ ถึงวันนี้แม้เธอจะมีอายุอานามเข้าไปเลยเลข 40 ไปแล้วก็ตาม แต่ความสามารถของเธอก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปด้วยเลย กลับมีชีวิตชีวากลมกลืนไปกับยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงได้ดีทีเดียว
คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อใครสักคนได้รับโอกาสให้ออกเทป เป็นศิลปินนักร้องแล้ว สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือ ชื่อเสียง-เงินทอง และความสุขสบายในชีวิต สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน จากที่เคยอยู่ตามต่างจังหวัด ต้องย้ายที่พำนักเข้ามาอยู่ในเมืองกรุง ชีวิตในแต่ละวัน แต่ละเดือน ผ่านไปกับการเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตที่ไม่ได้จำกัด เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงต่างประเทศ ที่มีคนไทยอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งนอกจากจะได้รับเงินเป็นค่าตอบแทนแล้ว ยังถือว่าได้เปิดหูเปิดตาท่องเที่ยวไปในคราวเดียวกัน
รางวัลพระราชทาน "พระพิฆเนศทอง" กับบทเพลง "รอรักจากแดนไกล" ผลงานการแต่งเนื้อร้องของครู "ดอย อินทนนท์" จากอัลบั้มชุด "เสื้อหลายสีพี่หลายใจ" เป็นอีกหนึ่งผลงานที่แสดงให้เห็นถึง ความเป็นศิลปินมีคุณภาพ และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อต้นปี 2544 ที่ผ่านมา บานเย็นยังได้รับพระราชทาน ปริญญามหาบัณฑิต (กิติมศักดิ์) จากสถาบันราชภัฎอุบลราชธานี คณะศิลปศาสตร์บัณฑิต ในฐานะที่เธอเป็น ผู้ร่วมอนุรักษ์และถ่ายทอดศิลปะการร้อง - ลำ หมอลำคนหนึ่ง เพราะนอกจากเธอจะเป็นศิลปินหมอลำเต็มตัวแล้ว เธอยังได้เกียรติจากสถาบัน ให้เป็นอาจารย์ สอนนักศึกษาในด้านที่เธอถนัดด้วย สมควรแล้วกับการได้รับปริญญามหาบัณฑิต จากสถาบันที่เธอร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามของจังหวัดไว้ให้ลูกศิษย์ได้สืบทอดต่อไป
อย่างเช่น บานเย็น ที่เพิ่งเดินทางกลับจากทัวร์คอนเสิร์ตที่ประเทศเยอรมนี สวีเดน และฟินแลนด์ เธอบอกว่าไปคราวนี้ใช้เวลานานถึง 3 เดือนแต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะนอกจากจะได้พบปะแฟนเพลงแล้ว ยังถือว่าได้ช่วยเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยให้ฝรั่งดูด้วย
"ถือว่าโชคดีมากค่ะ ที่ได้เกิดมาเป็นบานเย็น เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนแฟนเพลงให้การต้อนรับอบอุ่นมาก บางคนอยู่ไกลบ้านร้องไห้เลย พอได้ฟังเพลงเรา มีบางคนที่เป็นฝรั่ง พอได้ยินเพลงหมอลำ ก็ทำให้อยากจะเดินทางมาเที่ยวที่เมืองไทย ตรงนี้ภูมิใจนะ แต่ในชีวิตที่ดีใจ และภูมิใจที่สุด เห็นจะเป็นการได้รับรางวัลพระราชทานพระพิฆเนศทองคำ กับบทเพลง 'รอรักจากแดนไกล' จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตรงนี้ภาคภูมิใจมาก เพราะรางวัลนี้สำหรับศิลปินทุกคนถือว่าเป็นบันไดขั้นสุดท้ายของชีวิตหมอลำ เลยทีเดียว"
วันนี้วันที่ "บานเย็น รากแก่น" หรืออีกฉายา "ราชินีหมอลำ" ผู้คว่ำหวอดกับวงการลูกทุ่งอีสาน และหมอลำ–หมอร้อง จนมีชื่อเสียงโด่งดังขจรไกลไปถึงต่างแดน กำลังจะมีลูกศิษย์ – ลูกหา ที่นับวันจะเพิ่มทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ มารับหน้าที่ถ่ายทอดสายเลือดศิลปินหมอลำ
จากรุ่นไปสู่รุ่น ฉะนั้น "บานเย็น รากแก่น"
จึงนับเป็นอีกหนึ่งศิลปินที่มีไม่มากนักในการได้รับคัดเลือกให้เป็น ปูชนียบุคคล เพื่อร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ และความรู้ ทางด้าน "หมอลำ – หมอร้อง" ที่สั่งสมมานานหลายสิบปีให้แก่ลูกหลานได้สืบทอดต่อกันมา
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2548 ที่ผ่านมาก็ได้ตามไปฟังลำจากเสียงใสกังวานของหมอลำบานเย็น รากแก่น ในงานป่าวเติน เอิ้นข่าว ที่บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดอุบลราชธานี งานนี้ครึกครื้นครับสมกับที่รอคอย โดยมีวงโปงลางสังข์เงินจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเป็นแบ็คอัพและหาง เครื่อง มาสนุกและถูกใจแฟนๆ สุดๆ เมื่อสุดยอดหมอแคนแดนอีสาน สมบัติ สิมหล้า พาแคนคู่ใจมาเป่าให้หมอลำบานเย็นได้ลำล่อง ลำเต้ย ม่วนอีหลีคักๆ เด้อพี่น้อง ขนาดวันนั้นอากาศร้อนสุดๆ แต่แฟนๆ ชาวอุบลฯ ก็ไม่มีถอยเลยสักคน
ม่วนอีหลีถืกใจแท้ๆ เด้อ
ไม่ว่าชนชาติใด ภาษาใด เมื่อได้มาเยือนถึงถิ่นชาวอีสานแล้ว มักจะมีความประทับใจใน ความสนุกสนานของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นท่วงทำนองของสำเนียงเสียงดนตรี หรือท่าร่ายรำต่างๆ ล้วนบ่งบอกถึงจิตใจของคนอีสาน ที่มีแต่ความสนุกสนานรื่นเริงบรรเทิงใจ แม้ว่าพวกเขาจะอยู่ ในถิ่นที่ถูกขนานนามว่าเป็นดินแดนภูสูง นาแล้ง แต่พวกเขาไม่เคยหดหู่ ย่อท้อ เมื่อเสียงพิณ แคน โปงลาง และกลองลั่น นั่นทำให้แข้งขาของอาคันตุกะผู้มาเยือน ขยับ โยกย้าย ตามท่วงทำนองได้ อย่างไม่ขัดเขิน บางรายถึงกับลุกขึ้นร่ายรำด้วยความสนุกสนาน
ฝรั่งบางคนหลงเสน่ห์สาวไทย ตัดสินใจมาตั้งหลักฐานที่นี่ถึงกับเอ๋ยวาจาออกมาว่า "ม่วนอีหลี ถืกใจไอมากๆเลย..."
|
Turfman & Tails: Turtling & Titanium Block | Titanium Arts
ตอบลบTurtling titanium chopsticks & titanium white Titanium ford edge titanium Block. mens titanium watches Description. T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T.T seiko titanium