วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของดนตรีไทย

ประโยชน์ของดนตรีไทย 
  ประโยชน์ทั่วไป
          ประโยชน์ของดนตรีนับว่ามีอยู่ไม่น้อย กล่าวโดยย่อมีดังนี้คือ
         1. เสียงดนตรีเป็นสิ่งที่กล่อมหัวใจของคนให้อ่อนโยน เยือกเย็นดับทุกข์ได้ชั่วขณะ ปลุกใจให้รื่นเริงกล้าหาญ สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ฟังทั่วๆไป
         2. เป็นเครื่องที่ทำให้โลกครึกครื้น
         3. การแสดงมหรสพต่างๆ เป็นต้นว่า โขนละคร ดนตรีก็เป็นผู้ประกอบให้น่าดูสนุกสนานขึ้นสมอารมณ์ผู้ดูและผู้แสดง
         4. ทำความสมบูรณ์ให้แก่ฤกษ์และพิธีต่างๆ ทั้งของประชาชนและของชาติ
         5. เป็นเครื่องประกอบในการสงคราม ซึ่งเคยใช้ได้ผลมาแล้วหลายชาติ กล่าวโดยเฉพาะชาติไทยคราวสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาจักรีทรงรักษาเมืองพิษณุโลกต่อสู้ อะแซหวุ่นกี้ ก็ได้ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องประกอบอุบาย เป็นต้น
         6. ทำให้โลกเห็นว่าชาติไทยมีวัฒนธรรมเป็นอันดี ชาติใดที่มีวัฒนธรรมของตนอยู่อย่างดีย่อมเป็นที่ยกย่องของชาติทั้งหลาย
  ประโยชน์เฉพาะผู้บรรเลง
         กล่าวโดยย่อมีดังนี้คือ
          1. ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ทั่วไปดังกล่าวมาแล้ว
         2. เป็นอาชีพในทางที่ชอบอันหนึ่ง
         3. เป็นผู้รักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ
         4. จะเป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุมกว่าปกติ
         5. มีเครื่องกล่อมตนเองเมื่อยามทุกข์ ปลุกตนเองเมื่อยามเหงา
         6. เป็นเครื่องฝึกสมองอยู่ในตัว
         7. จะเป็นผู้มีเกียรติยศชื่อเสียงปรากฏแก่โลก
         8. ทำการสมาคมให้กว้างขวางได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ชั้นต่ำจนถึงชั้นสูงสุ
         นี่คือคุณประโยชน์ของดนตรี แต่การที่จะก่อให้เกิดประโยชน์นั้นๆขึ้นได้อย่างจริงจัง นักดนตรีจะต้องปฏิบัติตน ให้สมควรแก่ฐานะ อีกประการหนึ่งด้วย

เอกลักษณ์ดนตรีไทย

สะล้อ

ตัวอย่างเสียง
                      สะล้อ เป็นคำเดียวกันกับคำว่า ทรอ ซึ่งเอกสารโบราณบางฉบับเขียนว่า ตะล้อ , ถะล้อ , ธลอ เป็นเครื่อง          ดนตรีพื้นบ้านล้านนา ( ภาคเหนือ ) ใช้เล่นผสมกับซึงและขลุ่ย หรือ บรรเลงเดี่ยวก็ได้มีรูปทรงคล้ายซออู้ ซึ่งเป็น          เครื่องสายของดนตรีไทย แต่วิธีทำไม่ประณีตเท่าซออู้และในส่วนของรายละเอียดอาจแตกต่างกัน เป็นต้นว่า          กล่องเสียง ( กะโหลก / กระโหล้ง ) ซึ่งทำจากกะลามะพร้าว ขอบสะล้อด้านหน้าปิดด้วยแผ่นไม้บางๆ ส่วนของ          ซออู้นั้น ด้านหน้าปิดด้วยหนังและสายสะล้อใช้สายลวดหรือสายกีต้าร์ ส่วนซออู้นั้นเป็นสายเอ็น หรือสายไหม         สะล้อใช้คันชักสีนอกสายคล้ายซอสามสาย แต่ซออู้คันชักอยู่ในสาย คันชักเดิมที่ใช้หางม้าแต่ปัจจุบันหางม้าหา          ยากจึงใช้สายเอ็นเส้นเล็กๆ แทน เอาหางม้าหรือขี้ขะย้า(ขี้ขะย้ามีสองชนิดคือ ขี้ขะย้าจากมูลสัตว์ประเภทผึ้งชนิด
         หนึ่งและขี้ขะย้าจากยางไม้ประเภทยาง ซึ่งได้แก่ ยางนา , ยางป่าฯลฯ ) ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนยางสนนำมาถูไปมา          ที่หางม้าหรือสายเอ็น เพื่อให้เกิดความฝืดในการเสียดสีระหว่างหางม้ากับสายสะล้อ การเสียดสีทำให้เกิดเสียงขึ้นมา
                      สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของทางภาคเหนือ เป็นเครื่องสายใช้สีมีคันชัก เช่นเดียว กับซอด้วง          และซออู้ แต่ทำกันไม่สู้ประณีต คันทวนยาวรราว 65 เซนติเมตร มีสายขึงด้วยเส้นลวด 2 สาย ลูกบิดมี 2 อัน          เจาะรูเสียบทแยงไปในคันทวนสะล้อใช้เล่นประสม กับวงซึงและปี่ซอ ประกอบบทขับร้องและเพลงพื้นเมือง
                      มือซ้าย จับคันสะล้อ ใช้โคนหัวแม่มือและร่องนิ้วชี้คีบ ใต้สายรัดอกหรือรัดอกไว้เล็กน้อย
         ( ประมาณ 1 – 2 ซม . ) ให้พอดีกับตำแหน่งที่จะสามารถใช้นิ้วทั้ง 4 กดลงบนตำแหน่ง เสียงได้ถนัดและ
         บังคับคัน ซอไม่ให้โอนเอนหรือล้มได้มือขวา จับคันสะล้อ ให้มืออยู่ในลักษณะแบมือ สอดนิ้วก้อย         นิ้วนาง และนิ้วชี้ไว้ใต้คันชักและหางม้า หัวแม่มืออยู่บนคันชักคล้ายกับจับปากกา แล้วหงายมือบังคับ         ให้คัน ชักสะล้อวางและสีในแนวนอนขนานกับพื้น

กลองตะโพน

กลองตะโพน
            คือ ตะโพน แต่นำเอามาวางตีแบบกลองทัดใช้ไม้นวมตี ไม่ได้ใช้ฝ่ามือตีอย่างตะโพน กลองตะโพนนี้ได้ปรับปรุงใช้สำหรับวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งได้ปรับปรุงขึ้นมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์โดยเฉพาะ กลองชนิดนี้ใช้ตะโพน 2 ลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน แล้วนำมาตั้งเอาหน้าเท่งขึ้นตีแบบกลองทัด โดยให้หน้ากลองข้างหนึ่งตะแคงมาทางผู้ตี เหมือนกับกลองทัด นิยมนำมาใช้กับวงปี่พาทย์ไม้นวมแทนกลองทัด บรรเลงภายในอาคารบ้านเรือน เพื่อมิให้เสียงดังเกินไป

แคน

ประวัติความเป็นมาของแคน

 แคน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้ 
หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์ทำแคน 
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพรานคนหนึ่งได้ไปเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก (นกการเวก) ร้องไพเราะจับใจมาก เมื่อกลับมาจากป่าถึงบ้าน จึงได้เล่าเรื่องที่ตัวเองไปได้ยินเสียง นกกรวิกร้องด้วยเสียงไพเราะนั้นให้แก่ชาวบ้าน เพื่อนฝูงฟัง ในจำนวนผู้ที่มาฟังเรื่องดังกล่าวนี้มี หญิงหม้ายคนหนึ่งเกิดความกระหายใคร่อยากจะฟังเสียงร้องของนกกรวิกยิ่งนัก จึงได้พูดขอร้อง ให้นายพรานล่าเนื้ออนุญาตให้ตนติดตามไปในป่าด้วย เพื่อจะได้ฟังเสียงร้องของนก ตามที่นาย พรานได้เล่าให้ฟัง ในวันต่อมาครั้นเมื่อนายพรานล่าเนื้อได้พาหญิงหม้ายดั้นด้นไปถึงในป่า จนถึง ถิ่นที่นกกรวิก และนกเหล่านั้นก็กำลังส่งเสียงร้องตามปกติวิสัยของมัน นายพรานก็ได้กล่าวเตือน หญิงหม้ายให้เงี่ยหูฟังว่า 
"นกกรวิกกำลังร้องเพลงอยู่ สูเจ้าจงฟังเอาเถอะ เสียงมันออนซอนแท้ แม่นบ่" 
หญิงหม้ายผู้นั้น ได้ตั้งใจฟังด้วยความเพลิดเพลิน และติดอกติดใจในเสียงอันไพเราะ ของนกนั้นเป็นยิ่งนัก ถึงกับคลั่งไคล้ใหลหลง รำพึงอยู่ในใจตนเองว่า 
"เฮ็ดจั่งได๋นอ จั่งสิได้ฟังเสียงอันไพเราะ ม่วนชื่น จับใจอย่างนี้ตลอดไป ครั้นสิคอยเฝ้า ฟังเสียงนกในถิ่นของมัน ก็เป็นแดนดงแสนกันดาร อาหารก็หายาก หมากไม้ก็บ่มี" จึงได้คิดตัดสิน แน่วแน่ในใจตนเองว่า 
"เฮาสิต้องคิดทำเครื่องบังเกิดเสียง ให้มีเสียงเสนาะ ไพเราะออนซอนจับใจ ดุจดังเสียง นกกรวิกนี้ให้จงได้" 
เมื่อหญิงหม้ายกลับมาถึงบ้าน ก็ได้คิดอ่านทำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า หลาย ๆ อย่าง ก็ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใดมีเสียงไพเราะวิเวกหวานเหมือนเสียงนกกรวิก ในที่สุดนาง ได้ไปตัดไม้ไผ่น้อยชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง แล้วลองเป่าดู ก็รูสึก ค่อนข้างไพเราะ จึงได้พยายามดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งเกิดเป็นเสียงและ ท่วงทำนองอันไพเราะเหมือนเสียงนกกรวิก จนในที่สุดเมื่อได้แก้ไขครั้งสุดท้ายแล้วลองเป่าก็รู้สึก ไพเราะออนซอนดีแท้ จึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงทราบ 
ก่อนที่จะได้เข้าเฝ้า นางก็ได้เพียรพยายามปรับปรุงแก้ไขเสียงดนตรีของนางให้ดีขึ้นกว่า เดิม และยังได้ฝึกหัดเป่าเป็นท่วงทำนองต่าง ๆ จนมีความชำนาญเป็นอย่างดี 
ครั้นถึงกำหนดวันเข้าเฝ้า นางก็ได้เป่าดนตรีจากเครื่องมือที่นางได้คิดประดิษฐ์ขึ้นนี้ ถวาย เมื่อเพลงแรกจบลง นางจึงได้ทูลถามว่า 
"เป็นจั๋งได๋ ม่วนบ่ ข้าน้อย" 
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสตอบว่า "เออ พอฟังอยู่" 
นางจึงได้เป่าถวายซ้ำอีกหลายเพลง ตามท่วงทำนองเลียนเสียงนกกรวิกนั้น เมื่อจบถึง เพลงสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงตรัสว่า "เทื่อนี่ แคนแด่" (ครั้งนี้ ดีขึ้นหน่อย) 
หญิงหม้าย เจ้าของเครื่องดนตรี จึงทูลถามว่า "เครื่องดนตรีอันนี่ ควรสิเอิ้นว่าจั่งได๋ ข้าน้อย" (เครื่องดนตรีนี้ ควรจะเรียกว่าอย่างไร พระเจ้าข้า) 
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงตรัสว่า "สูจงเอิ้นดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำเว้าของเฮา อันท้ายนี้ สืบไปเมื่อหน้าเทอญ" (เจ้าจงเรียกดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำพูดของเราตอนท้ายนี้ ต่อไปภายหน้าเถิด) 
ด้วยเหตุนี้ เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่น้อยมาติดกันใช้ปากเป่า จึงได้ชื่อว่า "แคน" มาตราบเท่าทุกวันนี้ 
นี่เป็นเพียงนิทานปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน 
บางท่านก็สันนิษฐานว่า คำว่า "แคน" คงจะเรียกตามเสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกมาว่า "แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน" ซึ่งเป็นเสียงที่ดังออกมาจากการเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ บางคนก็มีความเห็นว่า คำว่า "แคน" คงเรียกตามไม้ที่ใช้ทำเต้าแคน กล่าวคือ ไม้ที่นำมาเจาะใช้ ทำเต้าแคนรวมเสียงจากไม้ไผ่น้อยหลาย ๆ ลำนั้น เขานิยมใช้ไม้ตะเคียน ซึ่งภาษาท้องถิ่นทางภาค อีสานเรียกว่า "ไม้แคน" แต่บางท่านก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกันออกไป 
แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าคิดอยู่บ้างคือ "แคน" นี้น่าจะทำขึ้นโดยผู้หญิง ซ้ำยังเป็น "หญิงหม้าย" เสียด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า ส่วนประกอบที่ใช้ทำแคนอันสำคัญคือส่วนที่ใช้ปากเป่า ยังเรียกว่า "เต้า แคน" และมีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย "เต้านม" ของสตรีอีกด้วย ทั้งการเป่าแคนก็ใช้วิธี เป่าและดูด จนสามารถทำให้เกิดเสียงอันไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อคือ คำที่ เป็นลักษณะนามเรียกชื่อและจำนวนของแคนก็ใช้คำว่า "เต้า" แทนคำว่า อัน หรือ ชิ้น ฯลฯ ดังนี้ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เสียงของแคนเป็นเสียงที่ไพเราะอ่อนหวาน ซาบซึ้งเหมือนเสียงนกการเวก ตาม นิทานเรื่องดังกล่าว เหมือนเสียงของหญิงหม้ายที่ว้าเหว่เดียวดาย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า "หญิงหม้าย" เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำแคนขึ้นเป็นคนแรก จึงเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังได้มากพอสมควรทีเดียว 
ลักษณะของแคนมีสองชนิด คือ แคนน้อย (ยาวศอก คืบ ยาวสองศอก ยาวสองศอกคืบ) และแคนใหญ่ (ยาวสามศอก ยาวสามศอกคืบ สี่ศอก สี่ศอกคืบ) ที่เคยใช้ในปัจจุบัน แต่ที่เคยมี ยาวถึงหกศอก แคนสองขนาดนี้แบ่งเป็นสองอย่าง คือ แคนเจ็ด และแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็คู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่ 
แคนเจ็ด
แคนเจ็ด แคนแปด
แคนแปด 
ส่วนแคนของเผ่าลาวลุ่มนั้นมีหกคู่ และแคนของเผ่าลาวสูงมีแค่สามคู่เท่านั้น และใช้ท่อต่อเต้าสำหรับการเป่าตามธรรมดา 
แคนลาว
แคนลาวสูง ลาวลุ่ม ลาวเทิง 
"แคน" ทำด้วยไม้อ้อ หรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยากเขาจึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อย และจะต้องหาให้ได้ลดขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ นอกจากไม้เหี้ยน้อยซึ่งทำเป็นลูกแคนยาวลดหลั่นกันตามลำดับ 7 คู่ หรือ 8 คู่ ประกอบเข้ากันกับเต้า ติดสูด (ขี้สูด) ข้างบนและข้างล่างเต้า เพื่อไม่ให้ลมเป่าเข้าสูบออกรั่ว แล้วยังมีลิ้นแคน รูแพว และรูนับเสียงเป็นสิ่งสำคัญด้วย ข้างในของแต่ละลำไม้ลูกแคนประกอบด้วยลิ้นแคนหนึ่งอันที่มีหนึ่งเสียง และจะต้องเจาะรูแพวให้ถูกตามเสียงเสมอ วิธีเป่าแคนลาวลุ่มก็เหมือนกับการเป่าแคนลาวเทิง หรือ ลาวสูง คือจะต้องใช้อุ้งมือทั้งสองข้าง อุ้มเต้าแคนไว้แล้วเป่าหรือดูดสูบลมที่รูเต้า ส่วนนิ้วมือก็นับไล่ตามเสียงไปด้วย 

ซออู้

ประวัติความเป็นมาของซออู้

ประวัติที่มาของซอด้วงและซออู้
จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏข้อความในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราไว้ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) ในกฎมณเฑียรบาลตอนที่ 15 และ 20 อันเป็นบทบัญญัติกำหนดโทษแก่ผู้ที่เล่นดนตรีเพลิดเพลินเกินขอบเขตเข้าไปถึงพระราชฐานขณะล่องเรือผ่านนั้น ปรากฏมีชื่อเครื่องดนตรีระบุไว้ ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ ซอ จะเข้ กระจับปี่ โทน ทับ
ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้บันทึกไว้ว่า “ขบวนเรือยาวที่แห่มารับตัวท่านและคณะว่ามีเสียงเห่ เสียงโห่และเสียงดนตรีประเภทกระจับปี่สีซอดังกึกก้องไพเราะไปทั่วคุ้งน้ำ...”
จะเห็นได้ว่า ในกฎมณเฑียรบาลและในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้มีการกล่าวถึง “ซอ” ไว้อย่างชัดเจน แต่เสียดายที่ไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าเป็นซออะไร

2. ประวัติที่มาของซออู้ ซออู้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มี 2 สาย มีเสียงทุ้มต่ำ ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว แต่ใช้กะลามะพร้าวพันธุ์ซอ ขนาดกะโหลกใหญ่เป็นพู มีการแกะสลักกะโหลกให้มีลวดลายวิจิตรบรรจงสวยงาม มะพร้าวพันธุ์ซอนี้ส่วนมากปลูกในอำเภอบางคนทีและอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ซออู้ของไทยมีรูปร่างคล้ายซอชนิดหนึ่งของจีน ที่มีชื่อว่า “ฮู-ฮู้” (Hu-hu) มี 2 สายเหมือนกันแต่ ฮู-ฮู้ มีนมรับสายก่อนจะถึงลูกบิด และลูกบิดอยู่ทางด้านขวามือของผู้เล่น ตรงลูกบิดที่จะสอดเข้าไปในทวนนั้นขุดทวนให้เป็นรางยาวและเอาสายผูกไว้กับก้านลูกบิดในร่องหรือรางนั้น และบางทีซออู้ของไทยอาจเอาแบบอย่างมาจากจีน แต่ในอีกแนวคิดหนึ่งซออู้นั้นอาจเป็นซอที่ประดิษฐ์ขึ้นก่อนซอของจีนและเป็นซอของไทยแท้ ๆ ที่ไม่ได้เลียนแบบมาจากประเทศอื่น เหตุผลเพราะว่าสมัยก่อนมีกลุ่มชนชาวไทยซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ได้อพยพลงมาและชนกลุ่มนี้มีความเจริญทางด้านศิลปะการดนตรี จึงได้คิดประดิษฐ์สร้างดนตรีขึ้นบรรเลง เพื่อความสนุกสนานและเพื่อผ่อนคลายความเครียด จากสาเหตุดังกล่าว จากที่เราเคยอาศัยอยู่ในประเทศจีนจึงเป็นเหตุให้เชื่อว่าเราอาจเลียนแบบมาจากจีน แต่แท้ที่จริงแล้วคนไทยในประเทศจีนเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเองไม่ได้ลอกเลียนแบบมาจากใคร
“ซออู้เป็นซอประเภทเครื่องสี มี 2 สายเช่นเดียวกับซอด้วง วิธีการบรรเลงโดยทั่วไปก็เป็นแบบเดียวกับซอด้วง คือ ท่านั่ง ท่าจับซอ ท่าจับคันชัก การใช้นิ้ว การไกวคันชัก คันชักออก คันชักเข้า คันชักสะบัด คันชักหนึ่ง สอง สี่ แปด ฯลฯ เป็นแบบเดียวกับซอด้วงทั้งสิ้น แต่ต้องนำมาเขียนแยกออกจากกันก็เพราะ ถึงวิธีการโดยทั่วไปจะละม้ายคล้ายคลึงกันก็ตาม แต่หลักการโดยเฉพาะของมันย่อมแตกต่างกันไม่ใช่น้อย ทั้งนี้เพราะซออู้เป็นซอเสียงทุ้ม มีหน้าที่บรรเลงขัด ล้อ ต่อ เหลื่อม ล่อ หลอก หน่วง ล้ำหน้า ฯลฯ คลุกเคล้าไปกับซอด้วง พูดง่าย ๆ ก็ว่าซอด้วงเป็นซอยืนหรือเป็นพระเอกประจำวง แต่ซออู้นี้เท่ากับเป็นตัวตลกคลุกคลีไปกับซอด้วงทำให้การบรรเลงสนุกสนานน่าฟัง” (ศจ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์, 2525 : 1)
แต่อย่างไรก็ตามเท่าที่มีหลักฐานพอจะทราบได้ว่า “ซออู้” เข้าร่วมประสมวงดนตรีในวงเครื่องสายและวงมโหรี เมื่อราวสมัยกรุงรัตนโกสินทร์และต่อมาในระยะหลังนี้ได้นำเข้าบรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และนิยมนำมาบรรเลงเดี่ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

ฟ้อนเล็บ

ฟ้อนเล็บเชียงรายPDFพิมพ์อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันอังคารที่ ๓๐ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ เวลา ๐๐:๐๐ น.
การฟ้อนเล็บเชียงราย
การฟ้อนเล็บของนางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ได้รับการถ่ายทอดมาจากนายโม ใจสม และได้ถ่ายทอดให้กับศิลปินฟ้อนพื้นบ้าน จังหวัดเชียงราย ในอดีตจนถึงปัจจุบัน จนกลายเป็นเอกลักษณ์การฟ้อนเล็บของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นฟ้อนที่ได้รับมาจากการฟ้อนของจังหวัดเชียงใหม่จากการฟ้อนในคุ้มของพระราชายาเจ้าดารารัศมี สู่ปวงชนชาวล้านนา อันแก่ได้ ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน  การฟ้อนเล็บของจังหวัดเชียงรายมีความแตกต่างจากจังหวัดเชียงใหม่ คือ การฟ้อนเล็บของจังหวัดเชียงรายนั้น ใช้วงปี่พาทย์พื้นเมืองประกอบการฟ้อน เพลงที่ใช้ได้แก่ เพลงแห่เมือง เพลงฤาษีหลงถ้ำ เพลงปราสาทไหว เป็นต้น ด้านท่วงท่าลีลาการฟ้อนมีความนิ่มนวล อ่อนช้อย และก้าวเท้าเพียง ๕ ก้าว ต่างจากการฟ้อนเล็บของจังหวัดเชียงใหม่ใช้วงกลองตึ่งนงประกอบการฟ้อนและก้าวเท้า ๗ ก้าว ปัจจุบันนางบัวเรียวยังคงถ่ายทอดการฟ้อนเล็บเชียงรายอย่างต่อเนื่องทั้งในสถาบันการศึกษา กลุ่มศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนา และกลุ่มเยาวชนต่างๆ  ซึ่งในระยะแรกนั้นยังไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควรแต่ด้วยความรักในศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาของนางบัวเรียว ได้ถ่ายทอดให้แก่สถาบันการศึกษาและกลุ่มเยาวชน ทั้งภาคกลุ่มวัฒนธรรม และศิลปินช่างฟ้อนตามอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันนางบัวเรียว จึงมีลูกศิษย์ทั้งวัยเด็ก วัยกลางคน และคนที่อายุสูงกว่า และก่อให้เกิดการประกวดแข่งขันการฟ้อนเล็บอย่างแพร่หลายในจังหวัดเชียงรายเพื่อให้เกิดการตื่นตัวในการอนุรักษ์มากขึ้น ปัจจุบันการฟ้อนเล็บตามแบบของนางบัวเรียวนี้ ได้รับการยอมรับให้เป็นฟ้อนเล็บเชียงราย ตามแบบของเอกลักษณ์ฟ้อนเล็บเชียงราย ดังนี้

ท่าฟ้อนเล็บเชียงรายมีดังนี้


ท่าที่ ๑ ท่าเทพพนม
จีบส่งหลังในท่าเสือลากหาง วาดมือทั้งสองขึ้นประนมไว้เหนือหน้าผาก ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างแยกออกจากกัน
จังหวะการก้าวเท้า ให้ก้าวเว้ายออกก่อน เอียงหัวและไหล่มาทางขวา วนก้าวมาด้านขวา ๕ ก้าว ชิดเท้า แล้วออกเท้าขวามาซ้าย ๕ ก้าว เอียงหัวและไหล่มาทางซ้าย ชิดเท้า (จังหวะการก้าวเท้าจะเป็นลักษณะจากซ้ายแล้วกลับมาขวา เป็นเช่นนี้ซ้ำๆ กัน ในทุกๆ ท่าฟ้อน)
ท่าที่ ๒ บิดบัวบาน
จีบมือขวาปล่อยมือซ้าย หลังมือชิดกันแล้วบิดมือเป็นรูปดอกบัวหมุนเป็นวงรอบมือ พร้อมเท้าซ้ายก้าวออกมาทางขวา ๕ ก้าว แล้วก้าวเท้าขวามาทางซ้าย ๕ ก้าว รวม ๑๐ ก้าว

ท่าที่ ๓ ท่าพรมสี่หน้า
จีบมือคู่ระดับเอว สอดมือขึ้นผ่านน้าอก ปล่อยมือแยกแขนตั้งศอกเสมอไหล่ ก้าวเท้ารวม ๑๐ ก้าว
พักแขนด้วยท่าเสือลากหาง (จีบส่งหลัง)

ท่าที่ ๔ ผาลาเพียงไหล่
หงายมือซ้ายขึ้นตั้งวงม้วนคว่ำมือ มือขวาจีบม้วนเข้าอกออกมาปล่อยจีบหงายมือลงต่ำข้างลำตัวด้านขวา แล้วเปลี่ยนข้างพร้อมกับก้าวเท้า ๕ ก้าว เปลี่ยนมือโดยเปลี่ยนมือซ้ายจีบม้วนเข้าอกวาดออกด้านซ้าย หงายมือปล่อยจีบมือลงต่ำข้างลำตัว

ท่าที่ ๕ นางระเวง
จีบมือซ้ายวาดเข้าอกวาดออกขึ้นตั้งวง พร้อมกับขวาวาดลงจีบข้างลำตัวส่งหลัง ครบ ๕ ก้าว เปลี่ยนแขนขวาตั้งวง แขนซ้ายจีบส่งหลัง


ท่าที่ ๖ พิสมัยเรียงหมอน
จีบมือซ้ายไว้ที่อก มือขวาวาดตั้งวง ปลายนิ้วมืออยู่ระดับคิ้ว ครบ ๕ ก้าว เปลี่ยนแขนตั้งวง มือขวาจีบหน้าอก มือซ้ายตั้งวง
พักแขนด้วยท่าเสือลากหาง (จีบส่งหลัง)

ท่าที่ ๗ เมฆลาล่อแก้ว
จีบมือขวาพร้อมกับวาดมือซ้ายเข้าหน้าอก กางแขนออกไป ขนานกับพื้น มือขวาตะแคงจีบ มือซ้ายปล่อยจีบ ปลายมือตั้งขึ้น ครบ ๕ ก้าวเปลี่ยนข้าง

ท่าที่ ๘ รามสูรขว้างขวาน
มือขวาจีบพร้อมกับวาดมือซ้ายเข้าหน้าอก เหยียดแขนซ้ายตึงขนานกับกับพื้น มือขวาหักข้อศอกตั้งขึ้น หงายมือขวาระดับหางคิ้ว ครบ ๕ ก้าว เลี่ยนข้าง

ท่าที่ ๙ สอดสร้อยมาลา
จีบมือซ้ายม้วนขึ้นตั้งวงไม่ปล่อยจีบ มือขวาวาดตามมาไว้ที่หน้าอกคว่ำมือไม่จีบ ครบ ๕ ก้าว เปลี่ยนแขนขวาจีบตั้งวงมือซ้ายวาดตามมาไว้ที่อกโดยไม่จีบแต่แบมือคว่ำลง
พักแขนด้วยท่าเสือลากหาง (จีบส่งหลัง)

ท่าที่ ๑๐ หงส์กางปีก
จีบมือทั้งสองข้างวาดเข้าที่อกก่อน แล้วค่อยดึงขึ้นเสมอหน้าผากแล้วแยกออกเหยียดแขนเสมอไหล่พร้อมจีบมือทั้งสองข้าง ๑๐ ก้าว ไม่เปลี่ยนมือ


ท่าที่ ๑๑ หงส์ร่อน
ม้วนจีบคว่ำลงแขนปล่อยจีบเสมอสะโพกกางแขนพอประมาณ ๑๐ ก้าวไม่เปลี่ยนมือ


ท่าที่ ๑๒ แบกขันตักบาตร
จีบม้วนซ้ายขึ้นตั้งศอกปล่อยจีบหงายมือขวาวาดตามมาไว้ที่อก ครบ ๕ ก้าว แล้วเปลี่ยนเป็นจีบม้วนขวาขึ้นตั้งศอกปล่อยจีบหงายมือซ้ายวาดตามมาไว้ที่หน้าอกคว่ำมือไม่จีบ
พักแขนด้วยท่าเสือลากหาง (จีบส่งหลัง)


ท่าที่ ๑๓ กินนรเลียบถ้ำ
จีบสองมือคว่ำวาดมือจากสะดือขึ้นหน้าอก เหยียดแขนออกไป ปล่อยจีบทั้งสองข้าง  ตั้งนิ้วมือขึ้นแขนขนานกับพื้น ปล่อยจีบ

ท่าที่ ๑๔ พญาครุฑบิน
จีบสองมือวาดขึ้นตั้งวงเสมอคิ้ว โดยหงายอุ้งมืออกทั้งสองข้าง 10 ก้าว ไม่เปลี่ยนมือ

ท่าที่ ๑๕ บุษบาแผลงฤทธิ์
จีบซ้ายม้วนวาดขึ้นตั้งวงพร้อมจีบเข้าหาใบหน้า มือขวาวาดลงจีบส่งหลังข้างตัว ๕ ก้าว เปลี่ยนมือจีบขวาม้วนวาดขึ้นตั้งวงพร้อมจีบเข้าหาใบหน้า มือซ้ายวาดลงจีบส่งหลังข้างตัว

ท่าที่ ๑๖ ชะเง้อ
จีบซ้ายวาดออกไปข้างหน้าเสมอหน้าท้องแล้วปล่อยจีบออกหงายอุ้งมือออกไปมือขวาวาดจีบส่งข้างตัว ๕ ก้าว เปลี่ยนมือจีบขวาออกไปข้างหน้าเสมอหน้าท้องปล่อยจีบออกหงายอุ้งมือออกไป มือซ้ายวาดจีบลงข้างลำตัว
เมื่อครบ ๑๐ ก้าวจีบส่งหลังด้วยท่าเสือลากหาง พร้อมก้าวเท้า ๓ ก้าวชิด แล้วก้าวเท้าซ้ายออก ๑ ก้าว พร้อมวาดมือจีบทั้งสองมือด้วยท่าบิดบัวบาน ๓ ครั้ง จีบซ้ายก่อนย่อตัวลงเอียงหัวตามจีบ แล้วจีบขวาเอียงขวา จีบซ้ายเอียงซ้าย รวม ๓ ครั้ง จบลงด้วยท่าย่อไหว้

มโนราห์

ประวัติมโนราห์

     นายสาย ภักดีสังข์ ผู้สอนรำมโนราห์ (ปัจจุบันอายุ 69 ปี) เป็นศิษย์ของ มโนราห์ เจิม เศรษฐ์ณรงค์ บ้านช่างทองตก หมู่ที่ 6 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง เริ่มเรียนรำมโนราห์เมื่ออายุ 7 ปี ในช่วงระหว่างฝึกรำอยู่นั้นอาจารย์เจิม ได้เล่าประวัติความเป็นมาของ มโนราห์ ให้ฟังว่า
ประวัติมโนราห์ (เล่าจาก อาจารย์เจิม เศรษฐ์ณรงค์) 
กาลครั้งนั้น ยังมีพระยาเมืองพัทลุง กับพระมเหสี ได้ครองคู่กันมาหลายปี แต่ก็หาได้มีบุตรไว้สืบสกุลสักคน ทั้งพระสามี และมเหสี ได้ตกลงกันจุดธูปเทียน บนบานศาลกล่าว แด่เทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ช่วยประทานบุตรให้สักคน จะเป็นหญิงก็ได้ ชายก็ดี ไว้เป็นทายาทสืบสกุลต่อไป

อยู่มาวันหนึ่งพระมเหสี บอกพระสามีว่ากำลังทรงมีพระครรภ์ พระสามีได้ฟัง ก็ดีพระทัยมาก ต่อมาเมื่อครบกำหนดประสูติกาลได้ประสูติพระธิดา จึงได้ตั้งชื่อว่า ศรีมาลา เจริญวัยมาได้ประมาณ 5 - 6 เดือน ก็เริ่มรำ ทำมือพลิกไปพลิกมา นางสนมพี่เลี้ยง ก็เลยร้องเพลง หน้อย ๆ ๆ จนเคยชิน ตั้งแต่เล็กจนโตรำมาตลอด ถ้าหากวันใดไม่ได้รำ ข้าวน้ำจะไม่ยอมเสวย ส่วนพระบิดาก็ร้อนใจ และละอายต่อไพร่ฟ้า ประชาชน ที่พระธิดาโตแล้วยังรำอยู่ เช่นนั้น ไม่รู้จะทำอย่างไร ส่วนประชาชนก็พากันติฉินนินทาไม่ขาดหู เลยตัดสินใจ ให้ทหารนำไปลอยแพในทะเล แม่ศรีมาลาต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส จนสลบนอนแน่นิ่งอยู่บนแพนั้น แพถูกคลื่นลมพัดพาไปตามกระแสน้ำตามยถากรรม จนกระทั่งไปติดอยู่กับโขดหิน ใกล้กับเกาะสีชัง

พ่อขุนศรัทธา ซึ่งต้องคดีการเมืองถูกนำไปกักไว้บนเกาะสีชัง พร้อมพวกพระยาต่างๆ ที่ต้องคดีเดียวกัน ถูกนำมากักขังรวมกัน เป็นนักโทษการเมือง บนเกาะแห่งนี้ ในวันนั้น พ่อขุนศรัทธา ได้ลงไปตักน้ำ เพื่อจะชำระร่างกาย บังเอิญมองไปในทะเล ได้เห็นแพลำหนึ่งลอยมาติดอยู่ ที่โขดหินใกล้เกาะ และมีคนๆ หนึ่งนอนอยู่บนแพ พอจะแลเห็นได้ถนัด ตนเองจะลงไปช่วยก็ไม่ได้เพราะน้ำบริเวณนั้นลึกมาก จึงไปบอกกับพระยาโถมน้ำ ซึ่งเป็นผู้มีวิชาอาคม เดินบนน้ำได้ ให้ไปช่วย พระยาโถมน้ำรับปากแล้ว ได้ลงมาดู เห็นเป็นดังที่ขุนศรัทธาพูดจริง จึงตัดสินใจเดินไปบนน้ำ ลากแพเข้าหาฝั่งได้ แต่จะทำอย่างไร ผู้หญิงที่นอนอยู่ในแพยังสลบไศลไม่ได้สติ จึงได้เรียกบรรดาพวกพระยาทั้งหมด ให้มาดูเผื่อจะมีผู้ใดมีปัญญาช่วยเหลือได้

ขณะนั้น พระยาลุยไฟซึ่งร่วมอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย คิดว่าผู้หญิงคนนี้ คงไม่เป็นอะไรมาก คงเนื่องจากความหนาวเย็นนั่นเอง ที่ทำให้เธอไม่ได้สติ เมื่อคิดได้ดังนั้นจึงสั่งให้พวกพระยาทั้งหลาย ช่วยกันหาไม้ฟืนมาก่อไฟสักกองใหญ่ แล้วพระยาลุยไฟก็อุ้มเอาร่างผู้หญิงคนนั้น เดินเข้าไฟในกองไฟ ความหนาวที่เกาะกุมนางอยู่ เมื่อถูกความร้อนจากกองไฟ ก็เริ่มผ่อนคลายและรู้สึกตัวในเวลาต่อมา เมื่อเห็นว่าเธอปลอดภัยแล้ว จึงนำนางขึ้นไปยังที่พัก และให้ข้าวปลาอาหารแก่นาง จนมีเรี่ยวแรงปกติขึ้น เมื่อมีเรี่ยวแรงดีแล้ว แม่ศรีมาลาก็เริ่มรำอีก ทำให้พวกพระยาทั้งหลายพากันแปลกใจ พากันถามไถ่ไล่เรียง แม่ศรีมาลาจึงเล่าความเป็นมาทั้งหมดให้พวกพระยาฟัง

พวกพระยาทั้งหมดต่างก็คิดกันว่า จะทำอย่างไรต่อไปดี พระยาคนหนึ่ง จึงเสนอให้พ่อขุนศรัทธา นำแม่ศรีมาลาไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ส่วนเรื่องการร่ายรำของเธอ จะมอบให้พระยาเทพสิงหร ไปประชุมพระยาให้ช่วยกันจัดการ ในเครื่องดนตรี และพระยาเทพสิงหร เป็นหัวหน้าคณะ

เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามที่ตกลงกันแล้ว ก็ยังมีเหลืออีกอย่าง คือชื่อคณะ ให้ทุกคนช่วยกันคิดว่าจะตั้งชื่อคณะว่าอย่างไร แม่ศรีมาลาได้ยินดังนั้น จึงคิดขึ้นมาได้ว่า ตอนที่ลอยอยู่ในทะเล เธอได้ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ จึงบอกพระยาทั้งหลายว่า ชื่อคณะสมควรจะใช้ชื่อว่า "คณะมโนราห์" เพราะเมื่อชาติก่อน หนูเคยเกิดเป็นมนุษย์ครึ่งนก หนูชื่อ มโนราห์ ทุกคนพูดว่า จำชาติเกิดปางก่อนได้ด้วยหรือ แม่ศรีมาลาตอบว่า จำได้ทุกชาติ หนูเกิดมาทั้งหมด 12 ชาติ รวมทั้งชาติปัจจุบันด้วย เหล่าพระยาจึงว่า ถ้าอย่างนั้นหนูช่วยเล่าเรื่องราวแต่ละชาติให้พวกเราฟังเถิด แม่ศรีมาลารับคำ แล้วก็เริ่มเล่าเรื่องแต่ละชาติปางก่อนให้ฟัง ชาติเกิดทั้ง 12 ชาติมีดังนี้
  • ชาติที่ 1 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ มโนราห์
  • ชาติที่ 2 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ เมรี
  • ชาติที่ 3 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ ทิพย์เกสร
  • ชาติที่ 4 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ อัมพันธุ์
  • ชาติที่ 5 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ รจนา
  • ชาติที่ 6 เกิดเป็นผู้ชาย ชื่อ จันทร์โครพ
  • ชาติที่ 7 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ โมรา
  • ชาติที่ 8 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ เกตุบุปผา
  • ชาติที่ 9 เกิดเป็นผู้ชาย ชื่อ สังข์ศิลป์ชัย
  • ชาติที่ 10 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ ยอพระกลิ่น
  • ชาติที่ 11 เกิดเป็นผู้ชาย ชื่อ ไกรทอง
  • ชาติที่ 12 เกิดเป็นผู้หญิง ชื่อ ศรีมาลา
ฉะนั้น การตั้งชื่อคณะ ขอตั้งชื่อตามชื่อชาติที่หนึ่ง เพราะเป็นนักฟ้อนรำ หนูเป็นพวกกินรี ครึ่งมนุษย์ครึ่งสัตว์ จึงขอตั้งชื่อคณะว่า "มโนราห์" พวกพระยาได้ฟังดังนั้น จึงตอบตกลง จึงได้ชื่อว่า มโนราห์ มาจนทุกวันนี้

ในฐานะพระยาเทพสิงหร เป็นหัวหน้าคณะ และได้ตั้งคณะมโนราห์ขึ้น มโนราห์โรงนี้ จึงเรียกกันว่า มโนราห์เทพสิงหร กาลเวลาผ่านมาพอสมควร คณะมโนราห์เทพสิงหร ได้แสดงไปเรื่อยๆ จนข่าวลือไปทั่วสารทิศ จนทราบไปถึง พระยาพัทลุง พระบิดา ซึ่งรู้เพียงว่า มโนราห์เทพสิงหรแสดงดีมาก จึงรับสั่งให้ทหารไปรับมาแสดงในพระราชวัง มโนราห์ก็มาแสดงตามคำเรียกร้อง พระยาเมืองพัทลุง ได้ทอดพระเนตรการแสดง ก็ทรงชื่นชมพอพระทัย

พอถึงฉากแม่ศรีมาลาออกมารำ เจ้าเมืองก็จำไม่ได้ว่าเป็น แม่ศรีมาลา เพราะแต่งกายในชุดมโนราห์ ดูผิดแปลกไป มีรูปทรงน่ารักน่าเอ็นดู พร้อมทั้งมีเสน่ห์เย้ายวนใจ เมื่อแม่ศรีมาลา นั่งอยู่บนเตียงตั่ง(ที่นั่งไม่มีพนัก) สำหรับมโนราห์นั่ง เจ้าเมืองก็ลุกจากที่ประทับ เดินเข้าไปในโรงมโนราห์ ด้วยความเสน่หา แล้วได้จูงมือแม่ศรีมาลา พาไปยังตำหนัก และเข้าไปในห้องทรง ให้แม่ศรีมาลา เปลี่ยนเครื่องทรงชุดมโนราห์ออก แล้วร่วมสมสู่กับกับนาง แม่ศรีมาลาเห็นผิดปกติ ก็เลยบอกความจริงว่า พระบิดาเจ้าข้า หม่อมฉัน เป็นลูกของท่านน๊ะ ลูกที่ท่านลอยแพไป หม่อมฉันยังไม่ตาย แพไปติดอยู่ที่เกาะสีชัง พวกพระยาทั้งหลายเขาเลี้ยงหม่อมฉันไว้ แล้วได้ตั้งคณะมโนราห์ขึ้น

เมื่อได้ฟังดังนั้น ก็ทรงโกรธมาก จึงรับสั่งให้นำแม่ศรีมาลาไปถ่วงน้ำ คณะมโนราห์ทั้งหมดก็ให้ทหารควบคุมตัวไว้ ไม่ให้ออกนอกวัง ส่วนแม่ศรีมาลา เมื่อทหารกำลังนำตัวเดินลงมาจากพระตำหนัก นางได้ขอร้องให้ทหารนำตัวไปพบคณะมโนราห์ และได้กล่าวอำลาครั้งสุดท้ายด้วย ทหารจึงทำตามความประสงค์ นำตัวแม่ศรีมาลาไปพบคณะมโนราห์ ทุกคนเมื่อรู้เรื่องราวก็พากันเศร้าโศกเสียไจไปตามๆ กัน

แม่ศรีมาลา พูดกับคณะมโนราห์ว่า หนูหมดบุญที่จะเป็นมนุษย์แล้ว เพราะเกิดมาครบสิบสองชาติแล้ว ท่านทั้งหลายไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจ เมื่อท่านคิดถึงหนู ขอให้จัดโรงมโนราห์ขึ้น แล้วให้รำสิบสองท่า ว่าให้ครบสิบสองบท และเล่นสิบสองเรื่อง ตามชาติเกิดของหนู แล้วท่านจะได้สมหวัง หนูจะมากินกับมโนราห์เท่านั้น สรุปว่า แม่ศรีมาลาตาย เพราะถูกถ่วงน้ำ (ตายในน้ำ)
 

หมอลำพื้นบ้าน


ประวัติหมอลำ
      การ ลำ นับเป็นการแสดงพื้นเมืองของภาคอีสาน ที่มีการวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมมากทุกยุคทุกสมัย เริ่มจากการลำพื้นเมือง ซึ่งได้แก่การนำเนื้อหาของนิทานพื้นบ้าน เช่นการะเกด สินไช นางแตงอ่อน ลำโดยใช้หมอลำ 1 คน และหมอแคน 1 คน ผู้ลำสมมติคนเป็นตัวละครทุกตัว ในเรื่องและลำตลอดคืน การลำพื้นเป็นต้นกำเนิดของการลำทุกประเภท
ต่อมาลำพื้น ได้วิวัฒนาการมาเป็นการลำคู่ ซึ่งได้แก่ การลำ 2 คน ชายกับชาย หรือ ชายกับหญิง จนประมาณปี พ.ศ.2494 การ ลำระหว่างชายกับชายจึงเลิกไป เหลือระหว่างการลำชายกับหญิงมาจนถึงปัจจุบัน หมอลำคู่ที่มีชื่อเสียงรุ่นแรกๆ ได้แก่ หมอลำคูณ (ชาย) และหมอลำจอมศรี (หญิง) ชาวอุบลราชธานีนอกจากนี้ยังมีหมอลำทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทาชาย) หมอเคน ดาหลา (ชาย) เป็นต้น


     การลำได้วิวัฒนาการต่อมาอีก จากการลำ 2 - 3 คน กลายมาเป็นการลำหลายๆคน เรียกว่า "หมอลำหมู่" ซึ่งมีประมาณ 10 กว่า คน เป็นการลำตามเรื่องราวอาจใช้นิทานพื้นบ้านหรือชาดกเป็นเนื้อเรื่อง ลีลาการลำมีหลายแบบ อาทิ ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น คณะหมอลำหมู่ชื่อเสียง ได้แก่รังสิมันต์ ซึ่งเป็นคณะหมอลำของชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเสียงมากระหว่างปี พ.ศ. 2506 - 2510
หมอลำ  ศิลปะพื้นบ้านอีสานที่ไม่มีวันตาย
     คำว่า  "ลำ"  มีความหมายสองอย่าง  อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ  เช่น  เรื่องนกจอกน้อย  เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่า ลำ   กลอนที่เอามาจากหนังสือลำเรียกว่า  กลอนลำ

อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา     ขับ ร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า "หมอลำ"
วิวัฒนาการของหมอลำ
      ความ เจริญก้าวหน้าของหมอลำก็คงเหมือนกับความเจริญก้าวหน้าของสิ่งอื่นๆ เริ่มแรก คงเกิดจากผู้เฒ่าผู้แก่เล่านิทาน นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม      โดย เรียกลูกหลานให้มาชุมนุมกัน ทีแรกนั่งเล่า เมื่อลูกหลานมาฟังกันมากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่น เรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุก ผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น
     เพียง แต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบ และหาเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดง มีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อ ผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่างๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิงเด่น ยาด (แย่ง) ชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน ขันท้า เรื่องตลกโปกฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ
     จาก การมีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อยๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่อง ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครที่มีในเรื่อง มีพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวตลก เสนา ครบถ้วน ซึ่งพอจะแบ่งยุคของวิวัฒนาการได้ดังนี้



ลำโบราณ
     เป็นการเล่านิทานของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ลูกหลานฟัง ไม่มีท่าทาง และดนตรี ประกอบ
ลำคู่หรือลำกลอน
     เป็น การลำที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ แคน การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอน ลำทวย (ทาย โจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมี ปฏิภาณไหวพริบที่ดี สามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำ ขึ้นอีกหนึ่งคน อาจเป็นชายหรือหญิง ก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรัก หักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้






ลำหมู่
     เป็นการลำที่มีผู้แสดงเพิ่มมากขึ้น จนเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครที่มีในเรื่อง มีเครื่องดนตรีประกอบเพิ่มขึ้น เช่น พิณ (ซุง หรือ ซึง) กลอง การลำจะมี 2 แนว ทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอน หมอลำแสดง เป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ได้อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ
     ต่อ มาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของลำหมู่อีกครั้ง หนึ่ง กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง (หมอลำ) มาร้อง เพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟูมากที่สุด คณะหมอลำดังๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี

ลำซิ่ง
     หลัง จากที่หมอลำคู่และหมอลำเพลิน ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงไป อันเนื่องมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์ ทำให้ดนตรีสตริงเข้ามาแทรกในวิถีชีวิตของผู้คนอีสาน ความนิยมของการชมหมอลำ ค่อนข้างจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดความวิตกกังวลกันมากในกลุ่มนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่แล้วมนต์ขลังของหมอลำก็ได้กลับมาอีกครั้ง ด้วยรูปแบบที่สะเทือนวงการด้วยการแสดงที่เรียกว่า ลำซิ่ง ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบาดไปสู่การแสดงพื้นบ้านอื่นให้ต้องประยุกต์ปรับตัว เช่น เพลงโคราชกลายมาเป็นเพลงโคราชซิ่ง กันตรึมก็กลายเป็นกันตรึมร็อค หนังปราโมทัย (หนังตะลุงอีสาน) กลายเป็นปราโมทัยซิ่ง ถึงกับมีการจัดประกวดแข่งขัน บันทึกเทปโทรทัศน์จำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย จนถึงกับ มีบางท่านถึงกับกล่าวว่า         "หมอลำไม่มีวันตาย จากลมหายใจชาวอีสาน"







หมอลำอีสาน

 

     นกน้อย อุไรพรชื่อจริง ชื่อ อุไร สีหวงศ์  เมื่ออายุครบ 11 ปี เด็กหญิงอุไร สีหะวง ก็จบการศึกษาภาคบังคับ ป.ด้วยคะแนนเป็นที่หนึ่งของชั้นคุณครูประจำชั้นมาหานายสมนางผันถึงบ้าน แล้วแนะนำว่า พ่อแม่น่าจะส่งอุไรให้ได้เรียนต่อในชั้นที่สูงถ้าเธอได้ไปเรียนในเมือง เธออาจจะมีโอกาสได้ดูการแสดงของนักร้องดังๆ ต่อไปอาจมีช่องทางเป็นนักร้องชื่อดังเหมือนเขาบ อุไร สีหะวง เด็กสาววัยกระเตาะจากบ้านจาน อำเภอยางชุมน้อย ที่จะต้องเป็นหนึ่งในจำนวนผู้เข้าประกวดแทบทุกเวที เพียงหน้างานปีเดียวเท่านั้น ชื่อเสียงของอุไรก็ขจรขจายไปทั้งตำบลและข้ามไปตำบลอื่นๆในเวลาต่อมาเธอกวาด รางวัลชนะเลิศมาทุกเวที ด้วยคะแนนที่เป็นเอกฉันท์ปราศจากข้อกังขา  ผู้คนเล่าขานถึงเด็กหญิงเสียงวิหคดั่งนกน้อยผู้นี้ และมองว่าถ้าได้รับการสนับสนุนอย่างดีแล้วไซร้  เธอจักต้องเป็นนักร้องผู้ยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้า จนในที่สุดในเขตอำเภอยางชุม น้อย จ.ศรีสะเกษ  ก็ไม่มีนักร้องคนไหนกล้าประลองฝีปากกับเธอบนเวที ชัยชนะเริ่มอิ่มตัว ความภาคภูมิใจของเด็กน้อยเริ่มเสื่อมคลาย เธอจะต้องก้าวไปสู่เวทีที่ยิ่งใหญ่ ต้นปีพุทธศักราช 2518วงดนตรี “เสียงอิสาน” นกน้อย อุไรพร ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในวงการ อาวทิดหลอดทุ่มเททั้งแรงเงิน แรงกาย เพื่อผลักดันวงดนตรีของตัวเองให้ได้รับการยอมรับจากประชาชน ที่เรียกว่าวงดนตรีของตัวเองนั้น ก็เพราะว่าขณะนั้นเป็นที่ทราบกันทั่วไปในวงการว่าอาวทิดหลอดกับนกน้อย อุไรพร ได้อยู่กินเป็นสามีภรรยาถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่สิ่งที่อาวทิดหลอดคาดการณ์ไว้กลับไม่เป็นเช่นนั้น วงเสียงอิสานไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนเลย งานจ้างก็มีกระท่อนกระแท่น จนต้องยกวงเดินสายและพากันกลับมาอย่างบอบช้ำ ขาดทุนยับเยิน สมาชิกภายในวงก็เริ่มหนีหาย จนเหลืออยู่ไม่กี่สิบคน เมื่อมานั่งวิเคราะห์สถานการณ์อย่างถ้วนถี่แล้ว เขาจึงค้นพบจุดอ่อนของวง นั่นคือ วงเสียงอิสานเป็นวงดนตรีลูกทุ่งเพียวๆ แสดงจากสามทุ่มตีหนึ่งก็เลิกต่างจากวงหมอลำที่เล่นกันยันสว่าง และมีลำเรื่องต่อกลอนให้ผู้ชมๆ ได้ทั้งคืน จึงไม่แปลกที่หมอลำใหญ่ๆ อย่างคณะประถมบันเทิงศิลป์ จะมีงานแสดงอย่างล้นเหลือ ในขณะที่เสียงอิสานจับเจ่าเฝ้าสำนักงาน อีกหนึ่งจุดอ่อนที่ค้นพบก็คือ ขนาดของวงเสียงอิสานเล็กเกินไป มีสมาชิกในวงแค่ 40 กว่าชีวิต วงเล็กๆ แบบนี้เจ้าภาพไม่ชอบ เขาชอบจ้างคณะใหญ่ที่มีนักแสดงเป็นร้อย มีรถหลายคัน มีเวทีแสงสีเสียงใหญ่โตมโหฬาร ส่วนผลงานด้านหน้าเวทีไม่ได้เรื่องจนหมาหลับก็ช่างมัน เมื่อคิดได้ดังนี้แผนการฟื้นฟูกิจการวงเสียงอิสานครั้งใหญ่จึงถูกตระเตรียม ในหัวสมองของอาวทิดหลอด เขาประกาศพักวงชั่วคราวเพื่อปรับปรุงใหม่ อันดับแรกสุดคือเรียกหาหัวหน้าวง นกน้อย อุไรพร” เข้ามาพบเพื่อรับบัญชา “”เจ้าไปหัดร้องหมอลำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เฮาสิเอ็ดวงใหม่เป็นลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ถ้าไม่เช่นนั้นเฮาสู้คณะอื่นบ่ได้”” การตัดสินใจของอาวทิดหลอดถูกต้องที่สุด เพราะหลังจากยกเครื่องปรับปรุงทีมงานการแสดงได้ไม่นานนักวงดนตรีลูกทุ่ง หมอลำคณะเสียงอิสานก็ได้รับการกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวาง นกน้อย อุไรพรอาศัย ไหวพริบปฏิภาณเรียนรู้การร้องหมอลำจนชำนิชำนาญ เมื่อร้องจนเก่งแล้วจึงลองหัดแต่งกลอนลำร้องเอง ต่อมาก็แต่งให้นักแสดงในวงนำไปร้อง จนในที่สุดถึงปัจจุบันนี้การแต่งนิทานและกลอนลำที่ใช้ในการลำเรื่องต่อกลอน ของคณะเสียงอิสาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฮอยปานดำฮอยปูนแดงวงเวียนชีวิตเงากรรม ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ เป็นฝีมือของนกน้อย อุไรพร ทั้งสิ้น 10ปีต่อมา ชื่อเสียงของคณะเสียงอิสานเริ่มขยายวงกว้างเป็นไฟลามทุ่ง ด้วยทีมงานที่ยิ่งใหญ่ขบวนคอนวอยที่ยาวเหยียด เวทีแสงสีเสียงและการแสดงอันตื่นตาตื่นใจ


   ก่อตั้งโดย คุณแม่บุญถม   นามวันทา เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2500 ใช้ชื่อวงในตอนแรกว่า บุญถมบันเทิงศิลป์คุณแม่บุญถมได้ แต่งงานกับคุณพ่อประพันธ์  สิมเสน จึงเป็นที่มาของชื่อคณะ ประถมบันเทิงศิลป์ โดยนายกสมาคมหมอลำในสมัยนั้นชื่อ นายคำดี  สาระผล ว่าชื่อบุญถมไม่เพราะ จึงเปลี่ยนให้โดยให้ยึดเอาชื่อคุณพ่อประพันธ์ และ คุณแม่บุญถมเป็นหลัก จึงเป็นชื่อประถมบันเทิงศิลป์มาจนถึงปัจจุบัน
ผลงานที่สร้าง ชื่อให้กับวงประถมบันเทิงศิลป์ในสมัยนั้นมีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น จำปาสี่ต้น  ท้าวแบ้ ซึ่งออกอากาศทางวิทยุระบบเอเอ็ม ลีลาวดี  กามนิตวาสิฐี หญิงสามผัว เจ้าหัวสามโบสถ์ มหากฐิน และกำไลมาศและผลงานที่สร้างชื่อให้กับประถมบันเทิงศิลป์คือ เรื่อง ลีลาวดี
พ.ศ.2533 คุณแม่บุญถมได้เสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก และก็ทำให้ ดาบส.หรือนายสันติ สิมเสน ลูกชายของคุณแม่บุญถมจึงได้นำวงเริ่มออกงานแทนคุณแม่บุญถม ในขณะที่ศพคุณแม่บุญถมยังอยู่ที่บ้าน และได้ประคับประคองวงประถมไปแสดงจนสิ้นสุดฤดูกาลแสดงของปีนั้น
ก่อนที่ดาบส.จะ ทำหน้าที่หัวหน้าวงแทนคุณแม่บุญถม ดาบส.ก็ได้ช่วยงานในวงมามากพอสมควร เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี เรียนลำ และเคยแสดงหมอลำโดยรับบทเป็นตัวโกงมาก่อนทำให้ดาบส.เป็นที่ยอมรับของสมาชิก ในคณะทุกคน และเมื่อพ.ศ.2530 ดาบส.ได้แต่งงานกับ นางสาววนิดา สุนทรวิศิษฐ์กุล หรือ แม่อิ๋ว และได้ช่วยกันพัฒนาวงประถมบันเทิงศิลป์มาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันวงประถม บันเทิงศิลป์ โดยการนำของ ดาบส.สันติ  บุญถมได้มีการพัฒนาจากเดิมมาก ไม่ว่าจะเป็น ระบบ แสง สี เสียง และการนำเสนอรูปแบบการแสดงใหม่ๆ บวกกับเทคนิคต่างๆ ทำให้วงประถมบันเทิงศิลป์เป็นที่ยอมรับของแฟนๆมาตลอด
ก่อตั้งโดย คุณแม่บุญถม   นามวันทา เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2500 ใช้ชื่อวงในตอนแรกว่า บุญถมบันเทิงศิลป์คุณแม่บุญถมได้แต่งงานกับคุณพ่อประพันธ์  สิมเสน จึงเป็นที่มาของชื่อคณะ ประถมบันเทิงศิลป์ โดยนายกสมาคมหมอลำในสมัยนั้นชื่อ นายคำดี  สาระผล ว่าชื่อบุญถมไม่เพราะ จึงเปลี่ยนให้โดยให้ยึดเอาชื่อคุณพ่อประพันธ์ และ คุณแม่บุญถมเป็นหลัก จึงเป็นชื่อประถมบันเทิงศิลป์มาจนถึงปัจจุบัน
ผลงานที่สร้างชื่อให้กับวงประถมบันเทิงศิลป์ในสมัยนั้นมีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น จำปาสี่ต้น  ท้าวแบ้ ซึ่งออกอากาศทางวิทยุระบบเอเอ็ม ลีลาวดี  กามนิตวาสิฐี หญิงสามผัว เจ้าหัวสามโบสถ์ มหากฐิน และกำไลมาศและผลงานที่สร้างชื่อให้กับประถมบันเทิงศิลป์คือ เรื่อง ลีลาวดี
พ.ศ.2533 คุณแม่บุญถมได้เสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก และก็ทำให้ ดาบส.หรือนายสันติ สิมเสน ลูกชายของคุณแม่บุญถมจึงได้นำวงเริ่มออกงานแทนคุณแม่บุญถม ในขณะที่ศพคุณแม่บุญถมยังอยู่ที่บ้าน และได้ประคับประคองวงประถมไปแสดงจนสิ้นสุดฤดูกาลแสดงของปีนั้น
ก่อนที่ดาบส.จะทำหน้าที่หัวหน้าวงแทนคุณแม่บุญถม ดาบส.ก็ได้ช่วยงานในวงมามากพอสมควร เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี เรียนลำ และเคยแสดงหมอลำโดยรับบทเป็นตัวโกงมาก่อนทำให้ดาบส.เป็นที่ยอมรับของสมาชิก ในคณะทุกคน และเมื่อพ.ศ.2530 ดาบส.ได้แต่งงานกับ นางสาววนิดา สุนทรวิศิษฐ์กุล หรือ แม่อิ๋ว และได้ช่วยกันพัฒนาวงประถมบันเทิงศิลป์มาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันวงประถมบันเทิงศิลป์ โดยการนำของ ดาบส.สันติ  บุญถมได้มีการพัฒนาจากเดิมมาก ไม่ว่าจะเป็น ระบบ แสง สี เสียง และการนำเสนอรูปแบบการแสดงใหม่ๆ บวกกับเทคนิคต่างๆ ทำให้วงประถมบันเทิงศิลป์เป็นที่ยอมรับของแฟนๆมาตลอด


ประวัติคณะหมอลำรัตนศิลป์ อินตาไทยราษฎร์

     จังหวัด ขอนแก่น เป็นคณะหมอลำที่สร้างขื่อเสียงได้รับการยอมรับทั่วภูมิภาคอีสาน โดยมีหมอลำบุญถือ หาญสุริย์ และหมอลำชวาลา  หาญสุริย์ สองสามีภรรยาได้ก่อตั้งคณะหมอลำ โดยเริ่มต้นจากการสืบทอดเจตนารมณ์ วงหมอลำ จากพ่อครูอินตา บุดทา เดิมชื่อคณะ เสียงทองบันเทิงศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ต่อมาเมื่อพ่อครูอินตา บุดทา ได้เสียชีวิตลง ได้จัดตั้งคระใหม่ขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. 2504 โดยให้ ชื่อว่า คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ จนถึงปัจจุบัน มีอายุถึง 47 ปี คณะ รัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ เป็นวงหมอลำที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งโดยเฉพาะการแสดงลำเรื่องต่อกลอน  ตั้งแต่สมัยหมอลำ บุญถือ และ หมอลำ ชวาลา หาญสุรีย์ เป็นพระเอกนางเอก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากหมอลำที่แสดง แสดงได้สมบทบาท มีกระแสเสียงที่ไพเราะนุ่ม นวลทั้ง พระเอก นางเอก และตัวแสดงประกอบ โดยได้รับการฝึกฝน ถ่ายทอดจากครูหมอลำเป็น รุ่นๆ เป็นคณะหมอลำที่สืบทอด ลำเรื่องต่อกลอนลำพื้น ทำนองขอนแก่นที่ดี คณะหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีการสืบสานทำนองกลอนลำที่เป็นเอกลักษณ์แบบดั้งเดิมจากพ่อครู ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ มีจรรยาบรรณ ในการแสดงของศิลปินหมอลำอย่างเต็มที่ และถ่ายทอดการแสดงให้แก่เยาว์ชนคนรุ่นใหม่อย่างต่อ  เนื่องและยาวนาน แม้จะมีกระแสวัฒนธรรมตะวตกหลั่งไหลทะลักเข้ามา ในประเทศ แต่คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ก็สามารถที่ผสมผสานการแสดงสมัยใหม่กับพื้นบ้านกลมกลืน จนปรากฏเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนอย่างกว้างขวาง ผลงานดังกล่าว เป็นผลให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการประกวดหมอลำหมู่ และประกวดดนตรีพื้นบ้าน จากสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2536และได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติสุดยอดศิลปินอีสาน 40 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี2547
จาก ภารกิจการสืบทอดศิลปะการแสดงหมอลำ ของคณะหมอลำ รัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ทำให้คณะหมอลำรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ได้   รับความนิยมครองใจมหาชนมาโดยตลอด สามารถนำการศิลปะการแสดงนั้นให้ขึ้นมาทัดเทียมกับศิลปะการแสดงของสากล อย่างน่าภูมิใจ จากเกียรติคุณในการสร้างสรรค์ผลงานสืบทอดศิลปะการแสดงนั้นอย่างต่อเนื่อง และยืนยาว ก่อประโยชน์ต่อสังคมอย่างกว่างขวางทั้งทางศิลปะวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เป็นที่ประจักษ์ทั่วไป       คณะหมอลำรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ จึงสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินพื้นบ้านอีสาน สาขาศิลปะ การแสดง (สืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน) ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อขวัญและกำลังใจในการสร้างผลงานทีมีประโยชน์ต่อท้องถิ่นอีสานและประเทศ ชาติสืบไป





 








บานเย็น รากแก่น

    ยอด หมอลำที่มีเสียงไพเราะเพราะพริ้ง เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ด้วยลีลาและท่วงท่า การฟ้อนรำอันอ่อนช้อยสวยงาม ยังคงประทับใจไทยอีสานอยู่มิรู้ลืม ศิลปินเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวอุบลราชธานีอีกคนหนึ่ง การกลับมาบันทึกเสียงลำ ชุด "แม่ไม้หมอลำ" ของเธอนับว่าได้ กระตุ้นเตือนให้วงการหมอลำของฅนอีสานคึกคักอีกครั้งหนึ่ง ด้วยสำเนียงเสียงสดใสคงเดิม และลีลาร่ายรำอันสวยงามที่หาตัวจับยากของเธอ ประทับใจครับ นอกจากนั้นยังอุทิศตน อุทิศเวลาเดินทางมาให้ความรู้กับลูกศิษย์ลูกหาด้านศิลปะการแสดง ณ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยอีกด้วย นับว่า เป็นยอดศิลปินที่ไม่เคยลืมบ้านเกิดตัวเองจริงๆ
งิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว ลำงิ้วต่องต้อน เป็นท่วงทำนองการลำอีกแบบหนึ่งที่มีความไพเราะยิ่ง น่าฟังมากครับ
ตั้งตาคอย ลำซิ่ง สไตล์สนุกสนาน ฟังแล้วครึ้มหัวใจ รับรองได้ว่าแข้งขาของคุณ ต้องขยับ ตามจังหวะอย่างแน่นอน
หัวใจเตื้องต่อ กลอนลำเสียงออดอ้อนชุดใหม่ 1999 สาวหมอลำระเบิดโลก
บานเย็น รากแก่น กับหน้าที่ "แม่พิมพ์ของชาติ"
ใน พ.ศ.นี้ หากจะหา "หมอร้อง – หมอลำ" แล้วล่ะก็ หากันไม่ยาก แต่ถ้าจะหาแบบที่เป็นหมอลำโดยแท้ คงจะยากสักหน่อย เพราะส่วนมากจะเป็น "หมอลำ" ลักษณะลูกผสมเสียส่วนใหญ่ แต่ถ้าจะถามหาผู้ที่ยังคงอนุรักษ์ความเป็นหมอลำกันจริงๆ ก็คงหนีไม่พ้นสาวใหญ่ ที่ได้สมญานามว่า "ราชินีหมอลำ บานเย็น รากแก่น"
เพราะเธออยู่คู่กับ "หมอลำ" มานานหลายสิบปี ด้วยประสบการณ์ อันยาวนานทั้งด้าน "หมอลำ" และ " ลูกทุ่ง ..อีสาน" ที่สะสมมาตั้งแต่เยาว์วัย โดยเธอเคยเป็นถึง "นางเอก" หมอลำต่อกลอนให้กับคณะ "รังสิมันต์" ที่เคยเฟื่องฟูยุคหนึ่ง จากนั้นก็มาโด่งดังเอาดีทางการร้องเพลง "ลูกทุ่งอีสาน" อยู่พักใหญ่ และไม่ใช่จะเอาดีแต่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น เธอยังโด่งดังไปไกลข้ามทวีป รวมถึงการออกทัวร์คอนเสิร์ตข้ามทวีปเป็นว่าเล่น และนับเป็นศิลปินหมอลำอันดับหนึ่ง ที่มีงานแสดงในต่างประเทศมากที่สุดคนหนึ่ง
ถ้าจะถามถึงแนวการร้องเพลงลำของเธอแล้ว เธอมีทั้งแนว "ลำเรื่องต่อกลอน" "ลำเพลิน" "ลำมโนราห์" หรือแม้แต่เพลง "ลำเพลิน-แคนอีสาน" "ลำเพลินเจริญจิต" และ "ลำงิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว" ที่อยู่ในชุด "สาวหมอลำระเบิดโลก" ล้วนเป็นผลงานการร้องเพลงลำของเธอทั้งสิ้น 30 กว่าปีกับการคว่ำหวอดในวงการหมอลำ ถึงวันนี้แม้เธอจะมีอายุอานามเข้าไปเลยเลข 40 ไปแล้วก็ตาม แต่ความสามารถของเธอก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปด้วยเลย กลับมีชีวิตชีวากลมกลืนไปกับยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงได้ดีทีเดียว





คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อใครสักคนได้รับโอกาสให้ออกเทป เป็นศิลปินนักร้องแล้ว สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือ ชื่อเสียง-เงินทอง และความสุขสบายในชีวิต สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน จากที่เคยอยู่ตามต่างจังหวัด ต้องย้ายที่พำนักเข้ามาอยู่ในเมืองกรุง ชีวิตในแต่ละวัน แต่ละเดือน ผ่านไปกับการเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตที่ไม่ได้จำกัด เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงต่างประเทศ ที่มีคนไทยอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งนอกจากจะได้รับเงินเป็นค่าตอบแทนแล้ว ยังถือว่าได้เปิดหูเปิดตาท่องเที่ยวไปในคราวเดียวกัน
รางวัลพระราชทาน "พระพิฆเนศทอง" กับบทเพลง "รอรักจากแดนไกล" ผลงานการแต่งเนื้อร้องของครู "ดอย อินทนนท์" จากอัลบั้มชุด "เสื้อหลายสีพี่หลายใจ" เป็นอีกหนึ่งผลงานที่แสดงให้เห็นถึง ความเป็นศิลปินมีคุณภาพ และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อต้นปี 2544 ที่ผ่านมา บานเย็นยังได้รับพระราชทาน ปริญญามหาบัณฑิต (กิติมศักดิ์) จากสถาบันราชภัฎอุบลราชธานี คณะศิลปศาสตร์บัณฑิต ในฐานะที่เธอเป็น ผู้ร่วมอนุรักษ์และถ่ายทอดศิลปะการร้อง - ลำ หมอลำคนหนึ่ง เพราะนอกจากเธอจะเป็นศิลปินหมอลำเต็มตัวแล้ว เธอยังได้เกียรติจากสถาบัน ให้เป็นอาจารย์ สอนนักศึกษาในด้านที่เธอถนัดด้วย สมควรแล้วกับการได้รับปริญญามหาบัณฑิต จากสถาบันที่เธอร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามของจังหวัดไว้ให้ลูกศิษย์ได้สืบทอดต่อไป
อย่างเช่น บานเย็น ที่เพิ่งเดินทางกลับจากทัวร์คอนเสิร์ตที่ประเทศเยอรมนี สวีเดน และฟินแลนด์ เธอบอกว่าไปคราวนี้ใช้เวลานานถึง เดือนแต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะนอกจากจะได้พบปะแฟนเพลงแล้ว ยังถือว่าได้ช่วยเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยให้ฝรั่งดูด้วย
"ถือว่าโชคดีมากค่ะ ที่ได้เกิดมาเป็นบานเย็น เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนแฟนเพลงให้การต้อนรับอบอุ่นมาก บางคนอยู่ไกลบ้านร้องไห้เลย พอได้ฟังเพลงเรา มีบางคนที่เป็นฝรั่ง พอได้ยินเพลงหมอลำ ก็ทำให้อยากจะเดินทางมาเที่ยวที่เมืองไทย ตรงนี้ภูมิใจนะ แต่ในชีวิตที่ดีใจ และภูมิใจที่สุด เห็นจะเป็นการได้รับรางวัลพระราชทานพระพิฆเนศทองคำ กับบทเพลง 'รอรักจากแดนไกลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตรงนี้ภาคภูมิใจมาก เพราะรางวัลนี้สำหรับศิลปินทุกคนถือว่าเป็นบันไดขั้นสุดท้ายของชีวิตหมอลำ เลยทีเดียว"
วันนี้วันที่ "บานเย็น รากแก่น" หรืออีกฉายา "ราชินีหมอลำ" ผู้คว่ำหวอดกับวงการลูกทุ่งอีสาน และหมอลำหมอร้อง จนมีชื่อเสียงโด่งดังขจรไกลไปถึงต่างแดน กำลังจะมีลูกศิษย์ – ลูกหา ที่นับวันจะเพิ่มทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ มารับหน้าที่ถ่ายทอดสายเลือดศิลปินหมอลำ
จากรุ่นไปสู่รุ่น ฉะนั้น "บานเย็น รากแก่น"
จึงนับเป็นอีกหนึ่งศิลปินที่มีไม่มากนักในการได้รับคัดเลือกให้เป็น ปูชนียบุคคล เพื่อร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ และความรู้ ทางด้าน "หมอลำ – หมอร้อง" ที่สั่งสมมานานหลายสิบปีให้แก่ลูกหลานได้สืบทอดต่อกันมา
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2548 ที่ผ่านมาก็ได้ตามไปฟังลำจากเสียงใสกังวานของหมอลำบานเย็น รากแก่น ในงานป่าวเติน เอิ้นข่าว ที่บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดอุบลราชธานี งานนี้ครึกครื้นครับสมกับที่รอคอย โดยมีวงโปงลางสังข์เงินจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเป็นแบ็คอัพและหาง เครื่อง มาสนุกและถูกใจแฟนๆ สุดๆ เมื่อสุดยอดหมอแคนแดนอีสาน สมบัติ สิมหล้า พาแคนคู่ใจมาเป่าให้หมอลำบานเย็นได้ลำล่อง ลำเต้ย ม่วนอีหลีคักๆ เด้อพี่น้อง ขนาดวันนั้นอากาศร้อนสุดๆ แต่แฟนๆ ชาวอุบลฯ ก็ไม่มีถอยเลยสักคน
ม่วนอีหลีถืกใจแท้ๆ เด้อ
ไม่ว่าชนชาติใด ภาษาใด เมื่อได้มาเยือนถึงถิ่นชาวอีสานแล้ว มักจะมีความประทับใจใน ความสนุกสนานของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นท่วงทำนองของสำเนียงเสียงดนตรี หรือท่าร่ายรำต่างๆ ล้วนบ่งบอกถึงจิตใจของคนอีสาน ที่มีแต่ความสนุกสนานรื่นเริงบรรเทิงใจ แม้ว่าพวกเขาจะอยู่ ในถิ่นที่ถูกขนานนามว่าเป็นดินแดนภูสูง นาแล้ง แต่พวกเขาไม่เคยหดหู่ ย่อท้อ เมื่อเสียงพิณ แคน โปงลาง และกลองลั่น นั่นทำให้แข้งขาของอาคันตุกะผู้มาเยือน ขยับ โยกย้าย ตามท่วงทำนองได้ อย่างไม่ขัดเขิน บางรายถึงกับลุกขึ้นร่ายรำด้วยความสนุกสนาน
ฝรั่งบางคนหลงเสน่ห์สาวไทย ตัดสินใจมาตั้งหลักฐานที่นี่ถึงกับเอ๋ยวาจาออกมาว่า "ม่วนอีหลี ถืกใจไอมากๆเลย..."