เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 8 ชนิด มรทั้งการ้องเดี่ยวและการร้องเป็นหมู่คณะ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
· เพลงที่ร้องเฉพาะโอกาสหรือในฤดูกาล ได้แก่เพลงเรือ เพลงบอก เพลงนาคำตัก เพลงกล่อมนาคหรือเพลงแห่นาคเป็นต้น
· เพลงที่ร้องไม่จำกัดโอกาส ได้แก่เพลงตันหยง ซึ่งนิยมร้องในงานบวช งานอตางงานงานขึ้นปีใหม่ และงานมงคลต่าง ๆ เพลงเด็กที่ร้องกล่อมเด็กให้หลับและเพลงฮูลู หรือลิเกฮูลู ที่เป็นการร้องคล้าย ๆ ลำตัด โดยมีรำมะนาเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับร้องภาษาท้องถิ่นคือภาษามลายูเป็นกลอนโต้ตอบก
วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556
เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
เพลงพื้นบ้านตะวันออกเฉียงเหนือ (เพลงพื้นบ้านของภาคอีสาน )ใช้ร้องเพื่อความสนุกสนานในงานรุ่งเรืองต่าง ๆ สามรถแต่งได้ตามกลุ่มวัฒนธรรม 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ กลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราชและกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึม ดังนี้
- เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ ประกอบด้วยหมอลำและเซิ้งโดยหมอลำแบ่งการลำและการร้องออกเป็น 5 ประเภทคือ ลำเรื่อง ลำกลอน ลำหมู่ ลำเพลินและลำผีฟ้า ส่วนเซิ้งหรือคำร้อง จะใช้คำร้องรื่นเริง เช่น การแห่บั้งไฟการแห่นางแมว การแห่นางด้งโดยเนื้อเรื่องในการเซิ้งอาจเป็นการขอบริจาคเงินในงานบุญการเซิ้งอวยชัยให้พร หรือการเซิ้งเล่านิทานชาดกตามแต่โอกาส
- เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมานานในจังหวัดนครราชสีมา หรือโคราชซึ่งเนื้อเพลงมีลักษณะเด่นมนการเล่นสัมผัสอักษรและสัมผัสสระทำให้เพลงน่าฟังยิ่งขึ้น และยังมีเสียงร้อง ไช ชะ ชะ ชิ ชายพร้อมทั้งการรำประกอบแบบเยาะตัวตามจังหวะขึ้นลงซึ่งเพลงโคราชนี้นิยมเล่นทุกโอกาสตามความเหมาะสม
- เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึมที่นิยมร้องเล่นกันในแถบจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับเขมร ได้แก่ บุรีรัมย์สุรินทร์ และศรีษะเกษ โดยคำว่ากันตรึม นั้นหมายถึงกลองกันตรึมซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักเวลาตีจะใช้จังหวะเสียงดัง โจ๊ะกันตรึม โจ๊ะตรึม ๆและเจรียงหมายถึง การขับหรือการร้องเพลงมี 2 แบบคือเจรียงใช้ประกอบการบรรเลงดนตรีกันตรึม ซึ่งเมื่อขับร้องไปท่อนหนึ่งดนตรีกันตรึมก็จะรับและบรรเลงยาว ต่อไปเป็นเจรียงดนตรีใช้ร้องในงานโดยจะขับร้องไปเรื่อย ๆ และมีดนตรีบรรเลงคลอไปเบา ๆซึ่งในการร้องเจรียงนั้นสามารถร้องเล่นได้ทุกโอกาสโดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาล
เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ
เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส โดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาลใดๆซึ่งใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์และการพักผ่อนหย่อนใจโดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะอ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวลสอดคล้องกับเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้นนอกจากนี้ยังสามารถจัดประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 3 ประเภท คือ
- เพลงซอ ใช้ร้องโต้ตอบกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึงคลอไปด้วย
- เพลงจ๊อยเป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆโดยเนื้อหาของคำร้องจะเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรักความเงียบเหงา มีนักร้องเพียงคนเดียวและจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ เช่นจ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจจ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูงและจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา
- เพลงเด็กมีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่นๆ คือเพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็กและเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุงจา
เพลงพื้นบ้านภาคกลาง
เพลงพื้นบ้านภาคกลาง มีอิทธิพลมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การประกอบอาชีพวิถีการดำเนินชีวิต พิธีกรรม และเทศกาลต่าง ๆ โดยสามารถแยกประเภทได้ดังนี้คือ
- เพลงที่ร้องเล่นในฤดูน้ำมาก ได้แก่เพลงเรือ เพลงร่อยพรรษา เพลงรำภาข้าวสาร เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน เป็นต้น
- เพลงที่ร้องเล่นในฤดูเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นรำกำเคียวเพลงจาก ซึ่งใช้ร้องเล่นระหว่างเกี่ยวข้าว สำหรับเพลงสงฟาง เพลงพานฟางเพลงโอก เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว และเพลงชักกระดานใช้ร้องเล่นระหว่างนวดข้าว
- เพลงที่ร้องเล่นในช่วงตรุษสงกรานต์ ได้แก่เพลงสงกรานต์ ได้แก่ เพลงสงกรานต์ เพลงหย่อยเพลงระบำบ้านไร่ เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงพวงมาลัย เพลงสันนิษฐาน เพลงคล้องช้างและเพลงใจหวัง เพลงฮินเลเล เพลงกรุ่น เพลงยั่ว เพลงชักเย่อเพลงเข้าทรงต่าง ๆ เป็นต้น
- เพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะมักจะร้องเล่นกันในโอกาสทำงานร่วมกัน หรือมีงานบุญและงานรื่นเริงต่าง ๆโดยเป็นเพลงในลักษณะพ่อเพลงแม่เพลงอาชีพที่ใช้โต้ตอบกันได้แก่ เพลงเทพทองเพลงปรบไก่ เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงลำตัด เพลงทรงเครื่อง เป็นต้น
เนื้อหาของเพลงไทยประยุกต์
| ||
โดย มติชน วัน อาทิตย์ ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549 08:08 น. |
โดย ฐานะวัฒนา สุขวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเกิดขึ้นและมีอยู่อย่างสลับซับซ้อน บางอย่างเป็นไปอย่างช้าๆ บางอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โลกาภิวัตน์ หรือ โลกไร้พรมแดน เป็นเครือข่ายอำนาจที่ครอบงำโลกซึ่งส่งผลโดยตรงต่อ ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร อันเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตและส่งผ่านวัฒนธรรม ซึ่งถ้ามองในด้านผลดี โลกาภิวัตน์นำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่รุ่งโรจน์ สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ระบบโลกและสังคมทุกสังคม ทั้งยังเป็นการสร้างอารยธรรมใหม่คือ อารยธรรมข่าวสาร ในทางกลับกันโลกาภิวัตน์ก็ส่งผลกระทบต่อสังคมที่เชื่อมโยงคนเข้าไปอยู่ในระบบอันใหญ่มหึมาที่ไม่มีใครสามารถควบคุม ทุกคนตกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ และกลายเป็นคนไร้พลังที่จะต่อสู้ต้านทาน เฉกเช่นวัฒนธรรมไทยด้านเพลงไทยเดิมที่กำลังประสบกับสภาวการณ์การไหลบ่าทางวัฒนธรรมตามกระแสโลกาภิวัตน์ อันก่อให้เกิดคลื่นแทรกแซงทางวัฒนธรรม (Culture noise) กล่าวคือ วัยรุ่นไทยให้ความสนใจวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่าวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะเพลงไทยเดิมที่จัดเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยอันมีบรรพบุรุษสืบสานมาจนหลายรุ่น ทั้งยังมีท่วงทำนองและสำเนียงหลายเชื้อชาติ เช่น เขมรไทรโยค ลาวดวงเดือน ฝรั่งรำเท้า มอญรำดาบ แต่ไม่ส่งผลให้เด็กวัยรุ่นสนใจและยอมรับ ทั้งยังเลือกฟังเพลงเกาหลีเช่น ดงบังชินกิ หรือ เรน มากกว่า ซึ่งมีส่วนมาจากเพลงไทยเดิมมีท่วงทำนองช้าและเนื้อเพลงส่วนใหญ่ตัดตอนมาจากวรรณคดี โดยเฉพาะการร้องใช้วิธีร้องส่ง กล่าวคือ สลับกันระหว่างการบรรเลงดนตรีกับการร้อง ทำให้เนื้อเพลงที่ไม่เป็นปัจจุบันอยู่แล้วยังขาดความต่อเนื่องในการฟัง การสร้างทางเลือกใหม่ให้กับกลุ่มวัยรุ่นในการฟังเพลงไทยประยุกต์ คือ การนำเพลงไทยเดิมที่แต่งโดยบรมครูไทย มาปรับทำนอง เนื้อร้อง จังหวะและการประสานเสียง นำมาบรรเลงร่วมกันระหว่างเครื่องดนตรีไทยกับเครื่องดนตรีสากล เพื่อสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นในมิติของเพลงไทยประยุกต์นั้นจึงต้องใช้รูปแบบของการสื่อสาร Star of Elite (ดูกราฟิก) ด้านแหล่งสารและผู้ส่งสาร (7E) Expertise ผู้แต่งเพลงหรือเนื้อร้อง นักดนตรี นักร้องต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ มีทักษะ เชี่ยวชาญ รู้ถึงองค์ประกอบของเพลง (Element) มีความโดดเด่นเฉพาะด้าน (Equity) เป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่อง (Esteem) มีความเข้าใจกลุ่มวัยรุ่น (Empathy) มีพลังอดทนในการพัฒนาฝีมือ (Energy) และสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชมได้ (Entertainment) ด้านเนื้อหาข้อมูล (2L) Lesson ทำนองเพลงจัดเป็นบทเพลงที่ประกอบด้วย เนื้อร้อง จังหวะการประสานเสียง ที่ต้องทันสมัยและสอดคล้องกับการดำเนินชีวิต (Lifestyle) ด้านรู้รับสาร (5T) Target Group กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ทดลองฟังและชมเพลงไทยประยุกต์ (Trial) สืบสานวัฒนธรรม (Traditional) การเข้าถึงเพลงด้วยความพึงพอใจ (Touch) และสร้างรสนิยมใหม่กับกลุ่มวัยรุ่น (Taste) ด้านปฏิกิริยาตอบกลับ (2E) Effect ผลตอบกลับจากการสื่อสารที่ได้รับจากกลุ่มวัยรุ่นทั้งยังเป็นการประเมินถึงประสิทธิภาพของการสื่อสาร (Evaluation) ประกายดาวของเพลงไทยประยุกต์จะเจิดจ้าและส่องสว่างได้เพียงใดนั้น ย่อมต้องฝากความหวังไว้กับกลุ่มวัยรุ่น เพราะนอกจากจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการชมและฟังเพลงไทยประยุกต์แล้ว ยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยในอีกมิติหนึ่งอีกด้วย หน้า 5 | ||
หน้านี้ถูกเปิดอ่านแล้ว ครั้ง | ||
อ่านข่าวทั้งหมดของ มติชน ได้ที่นี่ |
เครื่องดนตีภาคใต้
เครื่องดนตรีไทย ภาคใต้
กลองหนัง รูปร่างลักษณะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้าตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง ข้างในกลวงขึ้นหน้าด้วยหนังวัว หรือ หนังแพะทั้งสองด้าน ตีด้วยไม้ 1 คู่ เวลาตีต้องตั้งกลองไว้ที่พื้น หรือขาตั้ง เพื่อให้ตีได้สะดวก ประวัติมีมาแต่โบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ นิยมใช้ในการละเล่นของภาคใต้ทั่วไป จังหวัดที่นิยมบรรเลง ทุกจังหวัดทางภาคใต้ โอกาสที่บรรเลง งานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป
โพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตรงกลางตัวกลองด้านบนมีหูโลหะตรึงไว้สำหรับแขวนและตีด้วยไม้ขึงด้วยหนังวัว 2 ด้านประวัติไม่ทราบประวัติที่แน่นอนนิยมตีแข่งขันเสียงดังแต่บางครั้งจะใช้ตีประกอบกับฆ้องเดี่ยวไม่ใช้ประสมวงดนตรีจังหวัดที่นิยมบรรเลงทุกจังหวัดในภาคใต้ โอกาสที่บรรเลงตีเป็นสัญญาณเวลาพระฉันเพลหรือลงโบสถ์ และใช้ตีในขบวนการแห่พระตลอดจนใช้ตีแข่งขันความดังกัน เรียกว่า “จันโพน”
กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้ามีลักาณะคล้ายปืดแต่เล็กกว่าตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็งหน้ากลองทำด้วยหนังนากหรือหนังเสือปลา วิธีตีกลองจะตีด้วยไม้มีลักษณะรูปโค้ง และใช้มือตีอีกด้านหนัง
ฆ้องคู่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีฆ้องแฝด ตัวฆ้องทำด้วยโลหะผสมตีด้วยไม้หุ้มนวมแขวนอยู่ในกลอง ไม้สี่เหลี่ยมเจาะรูให้เสียงออกประวัติ มีเล่นกันมาช้านานแล้วใช้บรรเลงในวงดนตรีประกอบด้วย ทับ กลองหนัง ฉิ่ง ปี่
ทับ เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองหน้าเดียว ทำด้วยไม้เนื้อแข็งชุดหนึ่งมี 2 ใบมีเสียงสูงและเสียงต่ำ ตีสอดสลับกันประวัติใช้มานานแล้ว นิยมใช้ผสมกับกลองตุ๊กสำหรับประกอบการแสดงโนรา
เครื่องดนตรีภาคเหนือ
เครื่องดนตรีไทยทางภาคเหนือ
สะล้อ
สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิด เสียง ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด (เดิมใช้สายไหมฟั่น ) สะล้อมี ๓ ขนาด คือ สะล้อเล็กสะล้อกลาง และสะล้อใหญ่ ๓ สาย
ซึง
ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีช่องเสียงอยู่ ด้านหน้า กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะ ๆ ดีด ด้วยเขาสัตว์บาง ๆ มีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวด หรือทองเหลือง (เดิมใช้สายไหมฟั่น) ๒ สาย
ขลุ่ย
เช่นเดียวกับขลุ่ยของภาคกลาง
ปี่
ปี่ เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง ที่ปลายข้างหนึ่ง ฝังลิ้นโลหะไว้เวลาเป่าใช้ปากอม ลิ้นที่ปลายข้างนี้ อีกด้านหนึ่งเจาะรู บังคับเสียงเรียงกัน ๖ รูใช้ปิดเปิด ด้วยนิ้ว มือทั้ง ๒ นิ้ว เพื่อให้เกิดทำนองเพลง มี ๓ ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่เรียก ปี่แม่ ขนาดรองลงมา เรียก ปี่กลาง และขนาดเล็กเรียก ปี่ก้อย นิยม บรรเลงประสมเป็นวงเรียก วงจุมปี่ หรือปี่จุม หรือบรรเลง ร่วมกับซึงและสะล้อ
ปี่แน
ปี่ แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ทำด้วยไม้ เนื้อแข็ง มีรูบังคับเสียง เช่นเดียวกับปี่ใน นิยมบรรเลงในวงประกอบกับฆ้อง กลอง ตะหลดปด และกลองแอว เช่น ในเวลาประกอบการฟ้อน เป็นต้น มี ๒ ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็กเรียก แนน้อย ขนาดใหญ่ เรียก แนหลวง
พิณเปี๊ยะ
พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว เวลาดีดเอา กะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอก ขยับเปิด-ปิด เพื่อให้เกิดเสียงกังวานตามต้องการ สมัยก่อนหนุ่มชาว เหนือนิยมเล่นดีดคลอการขับร้องในขณะไป เกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในยามค่ำคืน ปัจจุบันมี ผู้เล่นได้น้อยมาก
กลองเต่งถิ้ง
กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน เช่น ไม้ขนุน หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว มี ขาสำหรับใช้วางตัวกลอง ใช้ประสมกับเครื่องดนตรี อื่น ๆ เพื่อเป็นเครื่อง ประกอบจังหวะ
ตะหลดปด
ตะหลดปด หรือมะหลดปด เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร หน้ากลอง ขึงด้วยหนัง โยงเร่งเสียงด้วยเชือกหนัง หน้าด้านกว้างขนาด ๓๐ เซนติเมตร ด้านแคบ ขนาด ๒๐ เซนติเมตร หุ่นกลองทำ ด้วยไม้เนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อน ตีด้วยไม้หุ้มนวม มีขี้จ่า (ข้าวสุกบดผสมขี้เถ้า) ถ่วงหน้า
กลองตึ่งโนง
กลองตึ่งโนง เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตรก็มี ใช้ตีเป็น อาณัติสัญญาณประจำวัด และใช้ในกระบวนแห่กระบวนฟ้อน ต่าง ๆ ประกอบกับตะหลดปด ปี่แน ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย ใช้ตีด้วยไม้ เวลาเข้ากระบวน จะมีคนหาม
กลองสะบัดชัยโบราณ
กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออก ศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี ๓ ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร
เครื่องดนตรีภาคอีสาน
เครื่องดนตรีไทย ภาคอีสาน
พิณ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน คือ กระโหลก คันพิณ ลูกบิดสาย และไม้ดีดกระโหลกและคันพิณ นิยมทำมาจากไม้ชิ้นเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นไม้ขนุนหรือไม้ประดู่ กระโหลกของพิณ มีหลายรูปทรง ทั้งรูปกลม รูปเหลี่ยมหรือรูปไข่ กล่องเสียงเป็นสี่เหลี่ยมมนหรือคล้ายใบไม้ สายพิณเดิมทำด้วยสายไหม แต่ปัจจุบันทำด้วยสายลวดมี 2-4 สาย ตอนปลาย ทำเป็นลวดลายหัวพญานาคใช้ดีดด้วยแผ่นบาง ๆ
แคน จัดเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดชาวอีสานมีเสียงคล้ายออร์แกน แคนมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เต้าแคน ไม้กู่แคน ลิ้นแคน ขี้สิ่วและมีดเจาะเป็นโพรง เพื่อสอดลูกแคนเรียงไว้ในเต้าแคน เจาะส่วนหน้าเป็นรูปเป่าเพื่อบังคับลมเป่าให้กระจายไปยังลิ้นแคนอย่างทั่วถึง ไม้กู่แคน ทำด้วยไม้ซางหรือไม้รวกเล็ก ๆ ที่มีขนาดและความหนาพอเหมาะและลดหลั่นกัน นำมามาเจาะให้ทะลุข้อ ตัดให้ตรง ตัดให้ได้ขนาดสั้น ยาวไดสัดส่วน เจาะรูสำหรับใส่ลิ้น ลิ้นแคนทำจากโลหะทองแดง หรือทองแดงผสมเงิน นำไปหลอมและนำมาตีเป็นแผ่น ให้ได้ขนาดและความหนาบางตามต้องการ นำมาตัดให้ได้ตามขนาดต่าง ๆ แล้วนำไปสอดใส่ในกู่แคน แต่ละอันตามแผนผังเสียงของแคน
โหวด เป็นเครื่องเป่าไม่มีลิ้น จัดอยู่ในประเภทขลุ่ยแต่โหวดไม่มีรูพับจะมีเสียงลดหลั่นกันตามลักษณะของเสียงดนตรี โหวดประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ ลูกโหวดไม้แกน และขี้สูดลูกโหวดทำจากไม้ซางที่ชาวอีสานเรียกว่าไม้เฮี้ยหรือไม้กู่แกนนำมาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันเป็นท่อตามโครงสร้างของเสียงแล้วมาเรียงตัดไว้กับแกนไม้ไผ่โดยใช้ขี้สูดเป็นกาวเชื่อมตัดกันไว้ขี้สูดส่วนหนึ่งใช้อุดรูลูกโหวดด้านล่างเพื่อเป็นเครื่องปรับระดับเสียงและขี้สูดอีกส่วนหนึ่งใช้ติดไว้ที่ตรงหัวของโหวดเพื่อกันกระแทกเวลาโหวดตกกระทบกันปัจจุบันใช้รองปากเวลาเป่าเพื่อหันโหวดไปมาได้สะดวก
โปงลาง หรือขอลอ จัดเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายระนาดส่วนประกอบที่สำคัญคือ ลูกโปงลางซึ่งเดิมมี 5-7 ลูกปัจจุบันนิยมทำเป็น 12 ลูก โปงลางทำด้วยไม้เนื้อแข็งนิยมใช้ไม้หมากเลื่อมและไม้หมากหวด มีขนาดใหญ่โปงลางจะมีเสียง 5 เสียงเท่านั้นเพราะเพลงพื้นบ้านอีสานใช้เพียง 5 เสียง เสียงสูงต่ำตามขนาดของไม้ใช้เชือกร้อยติดกันเป็นผืนนิยมแขวนด้านเสียงต่ำไว้ด้านบนเสียงสูงทอดเอียงลงเวลาตีใช้ผู้ตี 2 คน ๆ หนึ่งตีตามทำนองส่วนอีกคนหนึ่งตีเสียงประสาทหรือเสียงเสพ
พิณไห เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดทำจากไหซองหรือไหกระเทียมทำไหขนาดลดหลั่นตามที่ต้องการมา 3-7 ใบใช้ยางสติ๊กที่ตัดจากยางในรถจักรยานมาจึงไว้ที่ปากไหดีดให้จังหวะเป็นเสียงเสพเวลาเล่นใช้มือดึงเส้นยายนี้ให้สั่นเป็นเสียงทุ้มต่ำแต่ต่อมาผู้ดีดไหเป็นเพียงผู้มาทำท่าดีดแต่งตัวสวยงามมารำเพราะคนชอบดูความสวยงามของคนดีดไหมากกว่าที่จะฟังเสียงพิณไห
เครื่องดนตรีภาคกลาง
เครื่องดนตรีภาคกลาง
เมื่อ พุธ, 04/11/2009 - 21:33 | แก้ไขล่าสุด พฤ, 05/11/2009 - 21:03| โดย Haru
หน้าหลัก เครื่องดนตรีภาคกลาง
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงของภาคกลาง ได้แก่ วงปี่พาทย์
เพลงพื้นเมืองภาคกลาง วงปี่พาทย์ คือวงดนตรีที่ประกอบด้วย เครื่องตีเป็นหลักโดยมี
ตัวอย่างการแสดง เครื่องเป่าคือปี่เป็นประธาน มีเครื่องกำกับจังหวะเป็นส่วนประกอบด้วย วงปี่พาทย์
สามัญ สำหรับ บรรเลงกับการแสดง และประโคมทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ขนาดคือ
1. วงปี่พาทย์เครื่องห้า
มีเครื่องดนตรีที่ผสมในวง โดยมีวิธีบรรเลงและหน้าที่ต่างๆ กันดังนี้
- ปี่ใน เดินทำนองถี่ๆ บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง มีหน้าที่ดำเนินทำนอง
และช่วยนำวง
- ระนาดเอก ตีพร้อมกัน ๒ มือเป็นคู่ ๘ เดินทำนองเก็บถี่ๆ โดยตลอด มีหน้าที่เป็น
ผู้นำวง
- ฆ้องวงใหญ่ ตีพร้อมกัน ๒ มือบ้าง ตีมือละลูกบ้าง มีหน้าที่ดำเนินทำนองเนื้อเพลง
เป็นหลักของวง
- ตะโพน ตีมือละหน้า ให้เสียงสอดสลับกัน มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับให้รู้วรรค
ตอนของเพลง และเป็นผู้นำกลองทัดด้วย
- กลองทัด ตีห่างบ้างถี่บ้าง ตามแบบแผนของแต่ละเพลง
- ฉิ่ง โดยปกติตีสลับกันให้ดังฉิ่งทีหนึ่ง ดังฉับทีหนึ่ง โดยสม่ำเสมอ มีหน้าที่
กำกับจังหวะย่อย ให้รู้จังหวะเบาจังหวะหนัก
ดนตรีและเพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย
เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชาติไทย
ดนตรี เพลง และการขับร้องเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดง สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
ดนตรี เพลง และการขับร้องเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดง สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย และเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย
1) ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วย
1.1 ดนตรีประกอบการแสดงโขน-ละคร
วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทย คือ วงปี่พาทย์ ซึ่งมีขนาดของวงเป็นแบบวงประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดงนั้นๆ ด้วย เช่น การแสดงโขนนั่งราวใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า 2 วง การแสดงละครในอาจใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือการแสดงละครดึกดำบรรพ์ต้องใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นต้น
1.1 ดนตรีประกอบการแสดงโขน-ละคร
วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทย คือ วงปี่พาทย์ ซึ่งมีขนาดของวงเป็นแบบวงประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดงนั้นๆ ด้วย เช่น การแสดงโขนนั่งราวใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า 2 วง การแสดงละครในอาจใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือการแสดงละครดึกดำบรรพ์ต้องใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นต้น
1.2 ดนตรีประกอบการแสดงรำและระบำมาตรฐาน
การแสดงรำและระบำที่เป็นชุดการแสดงที่เรียกว่า รำมาตรฐานและระบำมาตรฐานนั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง อาจมีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบตามลักษณะความจำเป็นของการแสดง เช่น ระบำกฤดาภินิหาร อาจนำเครื่องดนตรี ขิมหรือซอด้วง ม้าล่อ กลองต้อก และกลองแต๋ว มาบรรเลงในช่วงท้ายของการรำที่เป็นเพลงเชิดจีนก็ได้
การแสดงรำและระบำที่เป็นชุดการแสดงที่เรียกว่า รำมาตรฐานและระบำมาตรฐานนั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง อาจมีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบตามลักษณะความจำเป็นของการแสดง เช่น ระบำกฤดาภินิหาร อาจนำเครื่องดนตรี ขิมหรือซอด้วง ม้าล่อ กลองต้อก และกลองแต๋ว มาบรรเลงในช่วงท้ายของการรำที่เป็นเพลงเชิดจีนก็ได้
1.3 ดนตรีประกอบการแสดงพื้นเมือง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ ของไทยจะเป็นวงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าของแต่ละภูมิภาค ได้แก่
1) ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ มีเครื่องดนตรี เช่น พิณเปี๊ยะ ซึง สะล้อ ปี่แน ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่ตัด ปี่เล็ก ป้าดไม้ (ระนาดไม้) ป้าดเหล็ก (ระนาดเอกเหล็ก) ป้าดฆ้อง (ฆ้องวงใหญ่) ฆ้องหุ่ย ฆ้องเหม่ง กลองหลวง กลองแดว กลองปูเจ่ กลองปูจา กลองสะบัดชัย กลองมองเซิง กลองเต่งทิ้ง กลองม่าน และกลองตะโล้ดโป้ด เมื่อนำมารวมเป็นวง จะได้วงต่างๆ คือ วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว วงกลองม่าน วงปี่จุม วงเต่งทิ้ง วงกลองปูจา และวงกลองสะบัดชัย
1) ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ มีเครื่องดนตรี เช่น พิณเปี๊ยะ ซึง สะล้อ ปี่แน ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่ตัด ปี่เล็ก ป้าดไม้ (ระนาดไม้) ป้าดเหล็ก (ระนาดเอกเหล็ก) ป้าดฆ้อง (ฆ้องวงใหญ่) ฆ้องหุ่ย ฆ้องเหม่ง กลองหลวง กลองแดว กลองปูเจ่ กลองปูจา กลองสะบัดชัย กลองมองเซิง กลองเต่งทิ้ง กลองม่าน และกลองตะโล้ดโป้ด เมื่อนำมารวมเป็นวง จะได้วงต่างๆ คือ วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว วงกลองม่าน วงปี่จุม วงเต่งทิ้ง วงกลองปูจา และวงกลองสะบัดชัย
2) ดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทกับวงตรีหลักของไทย คือ วงปี่พาทย์และเครื่องสาย ซึ่งลักษณะในการนำมาใช้อาจนำมาเป็นบางส่วนหรือบางประเภท เช่น กลองตะโพนและเครื่องประกอบจังหวะนำมาใช้ในการเล่นเพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว กลองรำมะนาใช้เล่นเพลงลำตัด กลองยาวใช้เล่นรำเถิดเทิง กลองโทนใช้เล่นรำวงและรำโทน ส่วนเครื่องเดินทำนองก็นิยมใช้ระนาด ซอ หรือ ปี่ เป็นต้น
3) ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ พิณ อาจเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากตับเต่ง และหมากต๊ดโต่ง ซอ โปงลาง แคน โหวด กลองยาวอีสาน กลองกันตรึม ซอกันตรึม ซอด้วง ซอตรัวเอก ปี่อ้อ ปี่เตรียง ปี่สไล เมื่อนำมาประสมวงแล้วก็จะได้วงดนตรีพื้นเมือง คือ วงโปงลาง วงแคน วงมโหรีอีสานใต้ วงทุ่มโหม่ง และวงเจรียงเมริน
4) ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ กลองโนรา (กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก) กลองโพน กลองปืด โทน กลองทับ รำมะนา โหม่ง (ฆ้องคู่) ปี่กาหลอ ปี่ไหน กรับพวกภาตใต้ (แกระ) และนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาผสม ได้แก่ ไวโอลิน กีตาร์ เบนโจ อัคคอร์เดียน ลูกแซ็ก ส่วนการประสมวงนั้น เป็นการประสมวงตามประเภทของการแสดงแต่ละชนิด
2. เพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย
2.1 เพลงไทยประกอบการแสดงโขน ละคร รำ และระบำมาตรฐาน
เพลงไทยที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย โขน ละคร รำ และระบำที่เป็นมาตรฐานนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
เพลงไทยที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย โขน ละคร รำ และระบำที่เป็นมาตรฐานนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่ เพลงที่ใช้บรรเลงหรือขับร้องประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน ละคร เช่น การเดินทาง ยกทัพ สู้รบ แปลงกาย และเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการรำและระบำ เช่น รัว โคมเวียน ชำนาญ ตระบองกัน เป็นต้น
2) เพลงขับร้องรับส่ง คือ เพลงไทยที่นำมาบรรจุไว้ในบนโขน-ละคร อาจนำมาจากเพลงตับ เพลงเถา หรือเพลงเกร็ด เพื่อบรรเลงขับร้องประกอบการรำบทหรือใช้บทของตัวโขน ละคร หรือเป็นบทขับร้องในเพลงสำหรับการรำและระบำ เช่น เพลงช้าปี่ เพลงขึ้นพลับพลา เพลงนกกระจอกทอง เพลงลมพัดชายเขา เพลงเวสสุกรรม เพลงแขกตะเขิ่ง เพลงแขกเจ้าเซ็น เป็นต้น
2.2 เพลงไทยประกอบการแสดงพื้นเมือง เพลงไทยที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง เป็นบทเพลงพื้นบ้านที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยแบ่งออกตามภูมิภาคได้ดังนี้
1) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ เพลงบรรเลงประกอบการฟ้อนเล็บ ได้แก่ เพลงแหย่งหลวง ฟ้อนเทียน ได้แก่ เพลงลาวเสี่ยงเทียน ฟ้อนสาวไหม ได้แก่ เพลงปราสาทไหวและเพลงลาวสมเด็จ ระบำซอ ได้แก่ ทำนองซอยิ๊และซอจ๊อยเชียงแสน บรรเลงเพลงลาวจ้อย ต้อยตลิ่งและลาวกระแซ เป็นต้น
2) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง เพลงบรรเลงประกอบการเล่นเต้นกำรำเคียว ได้แก่ เพลงระบำชาวนา เป็นต้น
3) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน เพลงประกอบการแสดงเซิ้ง โปงลาง บรรเลงเพลงลายโปงลาง เซิ้งภูไท บรรเลงลายลำภูไท เป็นต้น
4) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ เพลงบรรเลงประกอบการแสดงลิเกป่า นิยมใช้เพลงตะลุ่มโปง เพลงสร้อยสน เพลงดอกดิน การแสดงชุดรองเง็ง บรรเลงเพลงลาฆูดูวอ เพลงมะอีนังลามา เพลงลานัง เพลงปูโจ๊ะปิชัง เป็นต้น
เคื่องดนตรีไทย(เครื่องเป่า)
เครื่องดนตรีไทยประเภท เครื่อง เป่า
เคื่องดนตรีไทย(เครื่องตี)
เครื่องดนตรีไทยประเภท เครื่อง ตี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)