วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เคื่องดนตรีไทย(เครื่องสี)

เครื่องดนตรีไทยประเภท เครื่อง สี

 
เครื่องสี
เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทยเรียกว่า ซอ
ซึ่งซอมีอยู่ 3 ชนิด ด้วยกันคือ 1. ซอด้วง 2. ซอสามสาย 3. ซออู้
 
 
  สะล้อ
 
           สะล้อ หรือซอล้อ หรือที่ปรากฎในเอกสารโบราณว่า "ทรอ" หรือ"ธร้อ" นั้น มีส่วนประกอบที่
   ไม่สับซ้อน มีสาย 2หรือ3 สาย เป็นตัวกำเนิดเสียง และมีตัวกำธรทำด้วยมะพร้าว ส่วนประกอบอื่นๆ
   ได้แก่ ด้าม หรือ คัน หลักสาย(ลูกบิด) และก๊อบ (หย่อง)
              ด้ามสะล้อที่ดีตามทัศนะของของนักดนตรีและสล่า ควรเป็นไม้เนื้อแข็งจำพวกชิงชัน ไม้ประดู่
   หรือไม้มะเกลือ แต่ไม้เหล่านี้ หายากและมีราคาสูงสล่าจึงใช้ไม้อย่างอื่น เช่น ไม้สัก ไม้ขนุน ไม้แดง
   หรือไม้ยางทำ โดยทั่ว ๆไปด้ามมักมีลักษณะกลม ด้านที่มีลูกบิดมีขนาดโตกว่าด้านที่เสียบทะลุกะลา
    มะพร้าว ยอดเหนือลูกบิดขึ้นไปสามารถกลึงเป็นหัวบัว หรือ สลักเป็นรูปต่างๆตามความประสงค์ได้     กะลามะพร้าวที่ใช้ทำกล่องกำธรเสียงนั้น จะตัดออกไม่เกิน 1/3 ของกะลาทั้งลูก ปิดที่เหลือด้วยแผ่นไม้
    บางๆเรียงว่า "ตาด" ด้านหลังเจาะรูเสียง ซึ่งอาจเป็นรูลักษณะต่างๆ หรือมีลวดลายแกะสลักประกอบ
    ด้วยกะลามะพร้าวนี้จะขูดให้บางและขัดให้ เรียบก่อนประกอบกับด้าม
                สายสล้อในปัจจุปัน พบว่าทำด้วยสายกีต้าเป็นส่วนมาก นอกนั้นทำด้วยสายห้ามล้อรถ
    จักรยานและสายไวโอลีน
                   ก๊อบ หรือ หย่อง ซึ่งวางรับสายอยู่บนตาดสล้อนั้น จะค่อนขึ้นมาทางขอบลน
    ทั้งนี้เพื่อให้ตำแหน่งที่คันชักสัมผัสสายสล้อ อยู่ไม่ห่างเกินไปอันจะทำให้เสียงไม่มีพลังกังวาน      คันชักสล้อ มักทำด้วยไม้ไผ่เหลากับสายไนลอน ในอดีตนิยมใช้สายหางม้า แต่ปัจจุปันขนหางม้า
     หายาก สล่าจึงใช้สายไนลอนแทนโดยมียางไม้จำพวกชัน หนือยางสนใช้ถูสายคันชักให้มีความฝืด
 
 
 
 

การเล่น สะล้อ


ซอด้วง


        ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้ - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า "โขน" ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า "ทวนล่าง" - ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก - รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง - หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก

ซอสามสาย



         ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า "ขนงไม้สัก" มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี - คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไปรวมทั้งเข็มที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด - ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างสำหรับสายเอก ลูกบนสำหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว สำหรับสายทุ้ม หรือสายสาม - รัดอก มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง ใช้รัดสายทั้งสาม ให้แนบเข้ากับทวนกลาง เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน - หย่อง ทำด้วยไม้หรืองา เหลาเป็นรูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้ สามตำแหน่ง เพื่อรองรับสายซอ - ถ่วงหน้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ ข้างบนประดับพลอยสีต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ำหนัก ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับเสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้ม - หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสายบ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง เพื่อรั้งปมปลายสายซอทั้งสาม - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว กลึงให้ได้รูป ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ เส้น 

ซออู้
 
        เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าวเรียกว่า “กะโหลกซอ” ตัดตามยาวให้พูอยู่
   ข้างบน ใช้เป็นเครื่องอุ้มเสียง ขึงหน้าด้วยหนังวัว คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมีลูกบิดสำหรับ
   ขึงสาย สายซอทำด้วยไหมฟั่นมีคันชักอยู่ระหว่างสาย กะโหลกและทวนบางคันก็แกะสลักลวดลาย
   วิจิตรบรรจงสวยงามน่าดู ซออู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับซอด้วงในวงเครื่องสายและ
    วงมโหรี เมื่อราวสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาภายหลังได้นำเข้ามาบรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ไม้นวม และ
    วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ด้วย ในการปรับปรุงวงดนตรีประกอบการแสดงละครของกรมศิลปากรซึ่งจัด
    แสดง ณ โรงละครศิลปากร ได้ปรับปรุงวงปี่พาทย์โดยให้ซออู้บรรเลงร่วมด้วยตามโอกาส
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น