วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของวงดนตรีไทย

ประเภทของวงดนตรีไทย
                วงดนตรีไทย   ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการบรรเลง   มีความเป็นระเบียบแบบแผน   มีมาตรฐานถูกต้องตามหลักการประสมวง   มีการพัฒนารูปแบบการบรรเลงเป็นระยะ   ซึ่งแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท  คือ

๑.๑ วงปี่พาทย์
                       วงปี่พาทย์   หมายถึง   วงดนตรีที่เกิดจากการประสมวงกันระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเป็นหลัก   แบ่งออกเป็น ๓ ขนาด ดังนี้
วงปี่พาทย์เครื่องห้า
๑.) วงปี่พาทย์เครื่องห้า  วงดนตรีประเภทนี้มีการประสมวงมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี    ประกอบด้วย   ปี่ใน   ระนาดเอก   ฆ้องวงใหญ่   ตะโพน   กลองทัด   และฉิ่ง
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ 
๒.) วงปี่พาทย์เครื่องคู่  วงดนตรีประเภทนี้เกิดการประสมวงครั้งแรกในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย   ปี่ใน   ปี่นอก   ระนาดเอก   ระนาดทุ้ม   ฆ้องวงใหญ่   ฆ้องวงเล็ก   ตะโพน   กลองทัด   ฉิ่ง   ฉาบเล็ก   ฉาบใหญ่   กรับ   และโหม่ง
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ 
๓.) วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่   วงดนตรีประเภทนี้เกิดการประสมวงครั้งแรกในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย   ปี่ใน   ปี่นอก   ระนาดเอก   ระนาดทุ้ม   ระนาดเอกเหล็ก  ระนาดทุ้มเหล็ก   ฆ้องวงใหญ่   ฆ้องวงเล็ก   ตะโพน   กลองทัด   ฉิ่ง   ฉาบเล็ก   ฉาบใหญ่   กรับ   และโหม่ง

๑.๒ วงเครื่องสายไทย
                       วงเครื่องสายไทยเป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทที่มีสายเป็นหลัก   ส่วนเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆที่ประสมในวงเครื่องสาย   นิยมใช้เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงที่มีความกลมกลืนสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆในวง   แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด    ดังนี้
วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว
๑.) วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยวหรือวงเครื่องสายวงเล็ก   เครื่องดนตรีประกอบด้วยซอด้วง ๑ คัน   ซออู้ ๑ คัน   จะเข้ ๑ ตัว   ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา   โทน-รำมะนา ๑ สำรับ   ฉิ่ง ๑ คู่  และฉาบเล็ก ๑ คู่
วงเครื่องสายเครื่องคู่
๒.) วงเครื่องสายเครื่องคู่   เครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอด้วง ๒ คัน   ซออู้ ๒ คัน   จะเข้ ๒ ตัว   ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา   ขลุ่ยหลีบ ๑ เลา   โทน-รำมะนา ๑ สำรับ   ฉิ่ง ๑ คู่   ฉาบเล็ก ๑ คู่   กรับ ๑ คู่   และโหม่ง ๑ ใบ

๑.๓  วงมโหรี
        วงมโหรีเป็นวงที่มีเครื่องดนตรีประสมวงครบทุกกลุ่ม   คือ   เครื่องดีด   สี   ตี   และเป่า   ลักษณะเด่นของวง  
ดนตรีประเภทนี้ คือ ความกลมกลืนของระบบเสียงที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่ถูกย่อสัดส่วน   สำหรับฆ้องวงที่ประสมในวงดนตรีประเภทนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าฆ้องมโหรี   การปรับลดขนาดเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเพราะต้องการให้ระบบเสียงมีความดังที่เข้ากันได้กับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย   วงมโหรีมีการประสมวงและถือเป็นแบบแผนมาตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจำแนกออกเป็น ๓ ขนาด  ดังนี้
วงมโหรีเครื่องเดี่ยว 
๑.) วงมโหรีเครื่องเดี่ยว   เครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอสามสาย ๑ คัน   ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา   ระนาดเอก ๑ รางฆ้องวงใหญ่ ๑ วง   จะเข้ ๑ ตัว   ซอด้วง ๑ คัน   ซออู้ ๑ คัน   โทน-รำมะนา ๑ สำรับ   ฉิ่ง ๑ คู่
วงมโหรีเครื่องคู่ 
    ๒.) วงมโหรีเครื่องคู่   เครื่องดนตรีประกอบด้วยซอสามสาย ๑ คัน   ซอสามสายหลีบ ๑ คัน   ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา   ขลุ่ยหลีบ ๑ เลา   ระนาดเอก ๑ ราง   ระนาดทุ้ม ๑ ราง   ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง   ฆ้องวงเล็ก ๑ วง   จะเข้ ๒ ตัว   ซอด้วง ๒ คัน   ซออู้ ๒ คัน   โทน-รำมะนา๑สำรับ  ฉิ่ง๑คู่  ฉาบเล็ก๑คู่  กรับ๑คู่  โหม่ง๑ใบ
    วงมโหรีเครื่องใหญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น